สธ.เผยเด็กต่ำกว่า 5 ขวบติดเชื้อสูงขึ้น แนะวิธีดูแลเด็กเล็กติดโควิด ส่วนใหญ่มีไข้ ระวังไข้สูง-ชัก ช่วง 1-2 วันแรก เน้นเช็ดตัวบ่อยๆ
นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบกรมอนามัย เผย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบเด็กติดเชื้อกว่า 6000 คน โดยเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพสมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และนนทบุรีและตลอดช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ โควิด-19 พบมีผู้ป่วยเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี ติดเชื้อรวมกว่า 107,059 ราย โดยแบ่งเป็น ช่วงอายุ0-2 ปี จำนวน 24,742 ราย ช่วงอายุ 2ปี จำนวน 21,237 ราย อายุ 3ปี จำนวน 20,525ราย อายุ 4ปี จำนวน 20,373 ราย อายุ 5ปี 20,181 ราย มีเสียชีวิต จำนวน 29 ราย พบเป็นกลุ่มเด็กมีโรคประจำตัว
ปัจจัยที่ทำให้เด็กมีการติดเชื้อสูง เพราะเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โดยปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อคือมีการสัมผัสใกล้ชิดจากคนในครอบครัว
ด้านนายแพทย์ ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รอง ผอ.สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ ระบุว่า แนวทางการปฏิบัติในกรณีที่พบเด็กติดเชื้อ แบ่งเป็นกรณีเด็กที่ติดเชื้อและผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษาด้วยกันโดยเน้นให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว
ส่วนกรณีที่เด็กเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อให้เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือฮอลพิเทล ผู้ปกครองควรมีอายุไม่เกิน 60 ปีและไม่มีโรคประจำตัวสามารถเข้าดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้
ส่วนกลุ่มอาการ แบ่งเป็นระดับน้อย มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหาร กินนมได้ปกติไม่ซึม ในกลุ่มนี้สามารถรับยา รักษาตามอาการซึ่งสามารถเข้าระบบรักษาตัวที่บ้านได้
ส่วนกลุ่มอาการปานกลางถึงรุนแรง คือกลุ่มที่มีอาการป่วย มีไข้สูงกว่า 39 องศาฯ หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจเร็วกว่าปกติใช้แรงในการหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% ซึมลง และไม่กินอาหาร ไม่กินนม ในกลุ่มนี้ต้องรีบเข้าพบแพทย์ทันที
อาการของเด็กที่ติดเชื้อโควิคที่พบมากที่สุด คือ มีไข้หลายวัน อาจจะมีไข้สูงหรือต่ำ ไอแห้งเจ็บคอ อ่อนเพลียคัดจมูก ซึ่งในกลุ่มนี้อาการจะคล้ายไข้หวัด นอกจากนั้น ยังพบเด็กบางรายมีอาการผื่นแดง จมูกไม่ได้กลิ่นเบื่ออาหาร ในเด็กทารก อาจดื่มนมน้อยลง อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ขอให้ผู้ปกครอง ดูเรื่องไข้เป็นหลัก เน้นการเช็ดตัวเพื่อลดไข้และป้องกันการชักในเด็ก
คำแนะนำ การดูแลดูแล รักษาตามอาการ หากเด็กมีไข้ให้กินยาลดไข้ เช่น ยาพารา 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัม และเช็ดตัว เพื่อลดไข้ หากเด็กมีอาการไอมีน้ำมูก ให้กินยาแก้ไอหรือยาลดน้ำมูกและดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีอาการถ่ายเหลวให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ
“อาการที่พบมากในเด็กติดเชื้อ คือ ไข้ จะมีชัดเจนในวันแรกและวันที่สอง ส่วนไข้จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับระดับอาการ มีอาการไอแห้ง เจ็บคอ อ่อนเพลีย คัดจมูก น้ำมูกมีหรือไม่มีก็ได้ อาการเหมือนหวัด บางรายอาจมีอาการผื่นแดง จมูกไม่ได้กลิ่น ซึ่งเด็กโตถึงจะบอกได้ , เบื่ออาหาร เด็กไม่ยอมกินข้าวกินนม ท้องเสีย และปวดท้อง โดยอาการแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.น้อย เช่นไข้ต่ำ มีน้ำมูก ไอ หรือถ่ายเหลวเล็กน้อย พอกินนมได้เล่นได้ และ 2.อาการมาก ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส หายใจเร็ว หายใจใช้แรงมากกว่าปกติ สังเกตจากจมูกบาน หายใจอกบุ๋ม ชายโครงบุ๋ม ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% มีอาการซึมลงไม่ดูดนม ซึ่งเด็กต่ำกว่า 1 ขวบจะดูเรื่องการกิน เช่น ช่วงไม่ป่วยกินได้ 100% หากป่วยกินน้อยลงเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ หากเกิน 1 ขวบจะดูที่เรื่องเล่นเป็นหลัก ว่าเล่นลดลงน้อยกว่า 50-60% ถือว่าป่วยหนักขึ้น”
“เครื่องมือในการตรวจ คือ ปรอทวัดไข้ให้ระวังเรื่องการตกแตก เครื่องวัดออกซิเจนตามท้องตลาดใช้สำหรับผู้ใหญ่ ในเด็กอาจจะหนีบไม่ได้ จึงขอให้หนีบ 2-3 นิ้วหรือนิ้วหัวแม่เท้า แต่การวัดต้องเอามือบีบเล็กๆ เพราะเด็กอยู่ไม่นิ่ง และให้ตัวเลขนิ่งก่อนถึงอ่านค่า และวัดหลายๆ ครั้งเพื่อเปรียบเทียบตรวจสอบ ส่วนการถ่ายภาพหรือคลิปจะใช้ส่งให้บุคลากรเพื่อช่วยประเมินอาการ”
“ยาสามัญประจำบ้านใช้บ่อยสุดคือพาราเซตามอลลดไข้ ให้รับประทาน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เช่น หนัก 10 กิโลกรัมก็คูณ 10 เข้าไปเป็น 100 มิลลิกรัม ซึ่งที่ขายในท้องตลาด 1 ช้อนชา 5 ซีซี มี 120 มิลลิกรัม จะกินประมาณ 5 ซีซีคือ 1 ช้อนชา แต่กินมากที่สุดคือทุก 4 ชั่วโมง การเช็ดตัวลดไข้ให้เช็ดทั้งตัว ไม่จำกัดเวลาหรือจำนวนครั้ง เช็ดได้บ่อยเมื่อมีไข้ เพราะเรากังวลไข้สูงวันแรกๆ และอาจชักได้ ส่วนไอน้ำมูกรับประทานยาตามอาการ อ่อนเพลียให้ดื่มน้ำมากๆ หากถ่ายเหลวดื่มน้ำเกลือแร่”
ทั้งนี้หาก ในกรณีพบการติดเชื้อในศูนย์เด็กเล็ก ทางหน่วยงานต้องแจ้งสถานอนามัยในเขตนั้นนั้น และจัดแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเสียงสูงเสียงต่ำเพื่อให้แยกกับตัว โดยกลุ่มผู้สัมผัสเสียงสูงต้องแยกกักตัว ส่วนผู้สัมผัสเสียงต่ำยังสามารถกลับเข้ามาเรียนได้ส่วนการตรวจคัดกรอง โดยชุดตรวจ ATK ในเด็ก มีสามแบบ คือใช้น้ำลาย แหย่จมูก และแหย่โพรงจมูก โดยวิธิการแหย่โพรงจมูกลึกๆ ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็ก ส่วนอีก2วิธีทำได้ โดยวิธีตรวจน้ำลาย ต้องบ้วนน้ำลายปริมาณ 20ซีซี ซึ่งวิธินี้มีความคลาดเคลื่อนสูง ความเชื่อถือน้อยส่วนการแหย่จมูก วิธีการคือใช้อุปกรณ์แหย่ในจมูกลึก 2 เซนติเมตรสำหรับเด็ก ไม่เท่าของผู้ใหญ่ที่แหย่ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นวิธิที่แนะนำใช้โดยทั่วไป
ข่าวที่น่าสนใจ
ตำรวจเมากร่าง เรียกเจ้าของร้านไปนั่ง ดริ๊งพอปฏิเสธดันถูกด่าว่าเป็น “เมียน้อย”
เตรียมรับมือให้ดี! โอมิครอนในไทย อาจพุ่งถึง 8.5 หมื่นราย/วัน ตรวจที่ไหน เจอที่นั้น
เปิดมาตรการ School Isolation ของศบค.รับมือกรณีผู้ติดเชื้อในโรงเรียนและสนามสอบ