หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศให้ยกเลิกการใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) ที่ผ่านกระบวนการการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ทำให้คนไทยหลายคนสงสัยว่าแล้วอะไรบ้างที่มีไขมันทรานส์ วันนี้เราจึงจะมาขยายความว่าเจ้าไขมันตัวร้ายนี้มันอยู่ที่ไหนบ้าง และเป็นอันตรายอย่างไร?

      ไขมันทรานส์ถูกจัดให้เป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) โดยประเทศสหรัฐฯได้สั่งแบนไขมันทรานส์และบังคับให้ผู้ประกอบการด้านอาหารยุติการใช้ไขมันทรานส์เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหาร ขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข สั่งห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายไขมันทรานส์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามประกาศระบุว่าเป็นการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (13 กรกฎาคม 2561)

 

ส่วนผสมหลักที่โดนตามราชกิจจานุเบกษานี้มีดังนี้

  • ขนมข้นหวาน
  • นมข้นจืด
  • ครีมเทียมข้นหวาน
  • เนยขาว
  • มาการีน

 

โดยส่วนผสมข้างต้นนี้มีอยู่ในอาหารพวกนี้

  • โดนัท
  • เวเฟอร์
  • เค้ก
  • ขนมปัง
  • เครื่องดื่มเช่น กาแฟ ชาเย็น ชานมไข่มุก
  • อาหารฟาสต์ฟูดส์ เช่น พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอรเกอร์ เฟรนซฟราย
  • ป๊อบคอร์น
  • และยังมีอีกมากมาย

 

เพื่อความชัดเจน เรามีตารางบอกปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารแต่ละชนิดจากปริมาณอาหาร 100 กรัม มาฝากกันตามนี้เลย

 

ถ้าร่างกายได้รับไขมันทรานส์เยอะจะเป็นอย่างไร?

สำหรับใครที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารประเภททอดๆ ทั้งหลาย ที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไปแล้วล่ะก็ จะส่งผลกระทบระบบการทำงานของระบบเอนไซม์ในร่างกายของเรา ทำให้ไขมันชนิดดีในร่างกายของเราลดลงหรือถูกทำลายไป และเพิ่มจำนวนไขมันชนิดเลวให้แก่ร่างกายแทน แถมเจ้าไขมันทรานส์นี้ยังไม่ย่อยสลายได้ง่ายๆ อีกด้วย เนื่องจากเป็นไขมันแปรรูป ซึ่งทำให้ตับของเราต้องทำงานหนักขึ้น และนั่นจึงนำมาซึ่งโรคหรืออันตรายจากไขมันทรานส์ อาทิเช่น

  • มีน้ำหนักตัวและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  • มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฯลฯ
  • ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
  • เสี่ยงต่อการเกิดอาการจอประสาทตาเสื่อม
  • ทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอักเสบ
  • ทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะมีบุตรได้ยากขึ้น

 

เมื่อรู้ถึงอันตรายจากอาหารประเภทไขมันทรานส์แล้ว ก็อย่าลืมหันมาดูแลตัวเองโดยการเลิกรับประทานอาหารประเภทนี้ แล้วเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุณค่าสารอาหาร โดยเฉพาะในผักและผลไม้ซึ่งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ควบคู่กับการออกกำลังกาย เพียงเท่านี้สุขภาพดีๆ ก็จะอยู่คู่กับเราไปอีกนานแสนนานเลย

 

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

หมอช้าง จัดอันดับ ดวง 5 ราศี Top 5 เดือนพฤษภาคม ได้แก่ราศีต่อไปนี้

หมอช้าง จัดอันดับ ดวง 5 ราศี Top 5 เดือนพฤษภาคม ได้แก่ราศีต่อไปนี้ ที่ดวงโดดเด่นกว่าใคร!! หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา นักโหราศาสตร์สมัยใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านโห […]

มีเนื้องอก หรือ ซีสต์ กระตุ้นไข่ได้ไหม ไขข้อสงสัยกับ ครูก้อยพบแพทย์

มีเนื้องอก หรือ ซีสต์ กระตุ้นไข่ได้ไหม ไขข้อสงสัย กับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในรายการ ครูก้อยพบแพทย์ ทำความเข้าใจ เนื้องอกมดลูก และ ซีสต์รังไข่

ลอตเตอรี่พารวย 5 ราศี ติดอันดับ คนดวงดี มีสิทธิ์ถูกหวยงวดนี้ 2 พฤษภาคม 2568

ลอตเตอรี่พารวย 5 ราศี ติดอันดับ คนดวงดี มีสิทธิ์ถูกหวยงวดนี้ 2 พฤษภาคม 2568 เตรียมเป็นเศรษฐีใหม่ ใกล้เข้ามาแล้ว กับ วันที่รอคอย วันแห่งโชคลาภ งวดนี้ ต […]

ดาวพฤหัสย้าย หมอไวท์ บอกราศีนี้ มงลง ดวงยืนหนึ่ง ดีที่สุดในรอบ 12 ปี !!

ดาวพฤหัสย้าย หมอไวท์ บอกราศีนี้ มงลง ดวงยืนหนึ่ง ดีที่สุดในรอบ 12 ปี !! รับโชคก้อนใหญ่ หมอไวท์ หมอดูโอปป้า จากเพจ FB White Jewel นักพยากรณ์รุ่นใหม่ที่ […]

อีกแล้ว ปูนล่วงถนนพระราม 2 พุ่งทะลุกระจก ขนาดเกือบเท่าเบาะรถยนต์

ระทึก ปูนล่วงถนนพระราม 2 อีกแล้ว ปูนทางด่วนพระราม 2 พุ่งใส่ใส่กระจกรถกระบะ ขนาดแผ่นปูนเกือนเท่าเบาะรถ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย

อย่างปั่น !! โบว์ เมลดา ถูกแซวอวบขึ้น ลั่น “ถ้าผอม โลกอาจจะหยุดหมุน”

“โบว์ เมลดา” ตอบสุดปัง! หลังถูกถามเรื่องรูปร่าง บอกมั่นใจในความสวยของตัวเอง ไม่หวั่นแม้จะอวบขึ้น เผย “ถ้าผอม โลกอาจจะหยุดหมุน” เรียกเสียงฮ […]
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า