กันไว้ดีกว่าแก้ อาหารกระตุ้นภูมิแพ้ อาจมาจากเมนูโปรดของคุณ อันไหนควรกินอันไหนควรเลี่ยงมาดู!
“โรคภูมิแพ้” เป็นโรคยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันป่วยกัน สาเหตุมาจากพันธุกรรมประกอบกับชีวิตความเป็นอยู่แบบสมัยใหม่และมลภาวะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาและการป้องกันมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การทานยา หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ ออกกำลังกาย ซึ่งภูมิแพ้ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการแพ้อาหารบางชนิด ไม่ว่าการแพ้แบบเฉียบพลัน และแพ้อาหารแบบแฝง การงดอาหารที่ตรวจเจอว่าแพ้ จะช่วยทำให้อาการภูมิแพ้เรื้อรังดีขึ้นได้
- สาวโพสต์ อาการไอ เป็นๆหายๆ คิดว่าภูมิแพ้ แต่สุดท้ายเป็นมะเร็งระยะสี่
- ตกลงฉันเป็นอะไร? ภูมิแพ้ VS ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 อาการแตกต่างกันอย่างไร??
- ‘ฤาษีดัดตน’ ทริคแบบไทย ๆ แก้ปวดหลัง ชาวออฟฟิศซินโดรมถูกใจสิ่งนี้

5 อาหารที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้
1. นมวัว เช่น โยเกิร์ต ไอศกรีม เนย ชีส เวย์โปรตีน
2. ยีสต์ เช่น เบเกอรี ขนมปัง เค้ก คุกกี้รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
3. ไข่ ทั้งไข่ขาวและไข่แดง แพ้ไข่ไก่มากกว่าไข่เป็ด
4. ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ ถั่วลิสง
5. ธัญพืช (กลูเตน) เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์
6 อาหารที่ต้านภูมิแพ้
1. กลุ่มวิตามินซี : วิตามินซี มีส่วนช่วยในการป้องกันการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ร่างกายสร้างขึ้นและทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
อาหารเพิ่มวิตามินซี : ในผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลี ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว โดยวัตถุดิบเหล่านี้สามารถดัดแปลงเมนูได้ตามที่คุณต้องการ
2.กลุ่มวิตามินเอ : ช่วยในเรื่องการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินหายใจและทางเดินอาหารให้สมดุล
อาหารเพิ่มวิตามิน : วิตามินชนิดนี้พบมากในกลุ่มผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้ม สีส้ม หรือสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ เป็นต้น
3. กลุ่มโปรตีน : โปรตีนกลุ่มนี้สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้ เพราะหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีนคือกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการนำไปสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ
อาหารเพิ่มโปรตีน : อย่างที่ทราบกันดี โปรตีนเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งจะมีมากในเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน อย่างเนื้ออกไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในถั่วต่างๆ
4. กลุ่มโอเมก้า 3 : โอเมก้า 3 จะช่วยลดอาการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยในการตอบสนองต่อเชื้อโรค และสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี
อาหารเพิ่มโอเมก้า 3 : คุณสามารถเลือกทานได้จาก ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลากะพง ซึ่งอาหารกลุ่มนี้อาจมีส่วนไปกระตุ้นอาการภูมิแพ้ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าคุณแพ้อาหารทะเลหรือไม่ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีประโยชน์เช่นกัน พบมากในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบสีเขียวเข้ม
5. กลุ่มซีลิเนียม : สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม หรือสารกระตุ้นภูมิแพ้ได้
อาหารเพิ่มซีลิเนียม : พบมากในพืชตระกูลหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น
6. กลุ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : สารชนิดนี้เป็นสารต้านอาการแพ้และลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามินซึ่งทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้
อาหารเพิ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : พบมากในกระเทียม และพืชตระกูลหอม อย่างหอมหัวใหญ่ หอมหัวแดง และในแครอทผักกาดหอม แอปเปิ้ล เป็นต้น
ทั้งนี้แนะนำให้จดบันทึกไดอารี่อาหาร ช่วงเป็นภูมิแพ้เยอะ ๆ ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อที่ทำการตรวจเลือดหาภูมิแพ้อาหาร จะได้ดูชนิดอาหารที่แพ้แบบเฉพาะเจาะจง จะได้เปลี่ยนอาหารที่รับประทานได้ถูก
นอกจากการทานอาหารต้านโรคภูมิแพ้เหล่านี้แล้ว อย่าลืมออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ ร่วมด้วย เพื่อให้คุณมีร่างกายที่แข็งแรงและไกลโรคอย่างแท้จริง
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY