“โรคกระดูกพรุน” สารพัดปัญหาของผู้สูงอายุ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน

ทำความรู้จัก โรคกระดูกพรุน สารพัดปัญหาของผู้สูงอายุที่ควรระวัง พฤติกรรมแบบใดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคกระดูกพรุน เช็กเลย!

ปัจจุบัน โรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาระดับชาติ ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ จนกระทั่งล้มแล้วมีกระดูกหัก จึงรู้ว่าเป็น โรคกระดูกพรุน

สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 เซนติเมตร) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้า ๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก

แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วย โรคกระดูกพรุน มีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเพียงแค่มีแรงกระแทกเบา ๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จาม หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง

โรคกระดูกพรุน2

ปัจจัยเสี่ยง โรคกระดูกพรุน

แม้ โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้กับทุกเพศทุกวัย และพบมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน จะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้

  • เพศ ผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40 – 50%
  • อายุ มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ
    – ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 10 คน ใน 100 คน
    – ผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 20 คน ใน 100 คน
    – ผู้หญิงอายุเกิน 80 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 40 คน ใน 100 คน
  • กรรมพันธุ์ ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีโรคกระดูกพรุนแล้วมีกระดูกหัก ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักด้วย
  • เชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวขาวและคนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง
  • ยา การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรค SLE (โรคพุ่มพวง)ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก เป็นต้น
  • เคยกระดูกหัก โอกาสที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า
  • แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้ว/วัน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
  • บุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง หากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน ความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักสูงขึ้น 1.5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่
  • ผอมเกินไป คนที่ผอมเกินไปจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และมีความเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่าของคนรูปร่างปกติ
  • ขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
  • ขาดการออกกำลังกาย คนไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า พบว่า ผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน เสี่ยงกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50%
  • การรับประทานอาหาร ถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา/วัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้ว/วัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋อง/สัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10 – 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารเค็มจัดและคาเฟอีนยังทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้นอีกด้วย

ารตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD)

การตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD) ด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมและใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ ที่กระดูกสันหลังช่วงเอวและกระดูกสะโพก ซึ่งจะได้ค่าเป็นตัวเลขแสดงความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน

ส่วนภาพ X-rays ในภาวะกระดูกพรุนจะเห็นเนื้อกระดูกจาง ๆ โพรงกระดูกกว้างออก ความหนาของผิวกระดูกลดลงและมีเส้นลายกระดูกหยาบ ๆ โดยจะเห็นขอบของกระดูกเป็นเส้นขาวชัด ในบางราย อาจเห็นกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังทรุดตัว

ตรวจกระดูกตอนไหน ?

  • ผู้ที่มีอาการปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยง ควรเริ่มตรวจความหนาแน่นกระดูกเมื่ออายุ 60 ปี
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เคยมีประวัติกระดูกหักในครอบครัวจากภาวะกระดูกพรุน หรือรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจความหนาแน่นกระดูกเร็วขึ้น
โรคกระดูกพรุน-01

อาหารเสริมพลัง ป้องกันกระดูกพรุน

  • แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างในแต่ละวัย และสภาวะร่างกาย ดังนี้ อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
  • วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดยร่างกายต้องการวิตามินดี วันละ 400-800 หน่วย
  • นม 1 แก้ว = มีวิตามินดี 100 หน่วย และแคลเซียม 300 มิลลิกรัม
โรคกระดูกพรุน3

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

หมอไวท์ แนะสักการะ “พระใกล้น้ำ” เสริมดวง 4 ราศี ให้ฉ่ำบุญ หนุนดวงรวย รับดาวย้ายใหญ่

หมอไวท์ แนะสักการะ “พระใกล้น้ำ” เสริมดวง 4 ราศี ให้ฉ่ำบุญ หนุนดวงรวย รับดาวย้ายใหญ่ จากคำทำนายของ หมอไวท์ หมอดูโอปป้า หรือ อาจารย์ไวท์ เปิ […]

3 ลัคนาราศี ซินแสหมิง เตือน เดือนพฤษภานี้ ดวงยังน่าห่วง การงานยังติดขัด การเงินยังต้องรอคอย

3 ลัคนาราศี ซินแสหมิง เตือน เดือนพฤษภานี้ ดวงยังน่าห่วง การงานยังติดขัด การเงินยังต้องรอคอย  คำทำนาย ดวงรายเดือน พฤษภาคม 2568 จากซินแสหมิง ขงเบ้งเมือง […]

พร้อมหรือยัง หมอช้าง เตือนให้พร้อมรับมือ “ดาวตรีเทพย้าย” ครั้งใหญ่ที่สุด

พร้อมหรือยัง หมอช้าง เตือนให้พร้อมรับมือ “ดาวตรีเทพย้าย” ครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ หมอช้างได้ออกมาพูดถึง การย้ายของดาวครั้งใหญ่ หมอช […]

หมอปลาย ผ่าดวงบันเทิง เร็วๆนี้ จะมีดาราชายหิวแสง และมีข่าวทำผู้หญิงท้อง!!

หมอปลาย ผ่าดวงบันเทิง เร็วๆนี้ จะมีดาราชายหิวแสง และมีข่าวทำผู้หญิงท้อง!! เตรียมเป็นข่าวดัง หมอปลาย ได้ไปออกรายการ เมาท์อยู่กับปากอยากอยู่กับคิ้ม รายก […]

เพื่อนรักมาก ตัวโดนแกล้ง 2 ราศี หมอช้าง ขอชี้แจง เป็นตัวโดนประจำในกลุ่ม

เพื่อนรักมาก ตัวโดนแกล้ง 2 ราศี หมอช้าง ขอชี้แจง เป็นตัวโดนประจำในกลุ่ม ล่าสุดหมอช้าง ได้มีคำนายเบาๆให้เราได้ติดตามกันในทาง FB หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา เก […]

หมอไวท์ เตือน ดาวพระอาทิตย์ ยังคงมีผลกับดวงเมือง ปี 2568 ระวังเรื่องไฟ

หมอไวท์ เตือน ดาวพระอาทิตย์ ยังคงมีผลกับดวงเมือง ปี 2568 ระวังเรื่องไฟ ร้อนๆจะไม่ดี จากที่ หมอไวท์ หรือ อาจารย์ไวท์ หมอดูโอปป้า ได้ออกมาพูดถึงคำทำนายเ […]
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า