สาวๆ หมั่นเช็กสุขภาพ ที่ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อย สาวใหญ่ ก็ต้องตรวจร่างกายประจำปี 3 โรคมะเร็งยอดฮิต พบบ่อยสุดในผู้หญิง!
ถ้าพูดถึงโรคมะเร็งยอดฮิตสำหรับผู้หญิง ที่ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อย สาวใหญ่ และด้วยการใช้ชีวิตในแต่ละวัน การรรับประทานอาหารต่างๆ โรคที่เราพบได้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ แม้ว่าสาวๆ หลายคนอาจจะคิดว่าตนเองดูแลสุขภาพดีแล้ว แต่นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ ส่วนจะมีปัจจัยอะไรบ้าง มีวีธีการป้องกันและรักษามะเร็งเหล่านี้อย่างไรไปอ่านกันได้เลย!

3 โรคมะเร็งยอดฮิต พบบ่อยสุดในผู้หญิง
มะเร็งเต้านม
“มะเร็งเต้านม” เป็นโรคมะเร็งยอดฮิตที่พบในหญิงไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตมากถึงร้อยละ 37 จากมะเร็งทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี โดยสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่
- เพศ – เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย
- อายุ – ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงมากขึ้น
- พันธุกรรม – มีญาติเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย (น้อยกว่า40ปี)
- ประจำเดือนเริ่มมาตั้งแต่อายุน้อย (มาก่อนอายุ 12ปี)
- หมดประจำเดือนช้า (อายุมากกว่า 55ปี แล้วประจำเดือนยังไม่หมด)
- มีลูกคนแรกเมื่ออายุมากขึ้น (มากกว่า 30ปี)
- การกินยาฮอร์โมนวัยทองหรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- เคยได้รับการฉายรังสีที่หน้าอก
อาการของมะเร็งเต้านม
- คลำเจอก้อนในเต้านม
- มีของเหลวออกจากบริเวณหัวนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเลือดจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งยิ่งขึ้น
- มีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านม โดยผิวหนังมีลักษณะคล้ายผิวส้ม หรือมีรอยบุ๋มที่ผิวหนัง หรือเต้านมผิดรูปร่างไปจากเดิม
- ความผิดปกติของหัวนม เช่น เป็นแผลที่หัวนม และเจ็บเต้านม (ก้อนมะเร็งส่วนใหญ่มักไม่เจ็บ) เป็นต้น
เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยง ควรหมั่นตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ หรือผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองโดยแพทย์ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะช่วยให้ตรวจเจอมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะยิ่งรู้เร็ว ย่อมรักษาได้ทันท่วงที และมีโอกาสหายขาดได้สูงขึ้น หรือหากต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมทั้งหมด ก็สามารถสร้างเต้านมใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยนำผิวหนังกล้ามเนื้อและไขมันมาสร้างเป็นเต้านม ทำให้คนไข้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ มีความสุข หมดปัญหาเรื่องขนาดหน้าอกที่ไม่เท่ากัน เป็นผลดีทั้งสุขภาพกายและใจ
มะเร็งปากมดลูก
“มะเร็งปากมดลูก” อีกหนึ่งมะเร็งยอดฮิตที่พบในผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 12 คนต่อวัน ซึ่ง 80% ของผู้หญิงที่เป็นเร็งปากมดลูกอยู่ในช่วงอายุ 30-60 ปี โดยในประเทศไทยพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณกว่า 8,000 คน
- เพศสัมพันธ์ พบว่าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เร็ว มีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อไวรัสเริม เชื้อไวรัส HVP ซึ่งมีอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ ทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผอกปกติ และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
- สารบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน DES, สาร Alkalate, รังสีรักษา เป็นต้น
- อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- อื่น ๆ เช่น อายุวัยกลางคน สถานะทางสังคมไม่ดี สูบบุหรี่ มีลูกมาก เป็นต้น
โดยอาการแสดงเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก คือ ระดูขาวมากผิดปกติ เลือดออกขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ และภายหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ในบางรายก็อาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น
ทั้งนี้สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น มีเพศสัมพันธ์เร็ว มีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต้องควรตรวจภายในทุก 6 เดือน เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือรอยโรคมะเร็งก่อนที่จะเกิดเซลล์ลุกลาม นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือที่เราเรียกว่า วัคซีนเอชพีวี (HPV Vaccine) ซึ่งปัจจุบันการฉีดวัคซีนเอชพีวีสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีชนิดที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูกได้ กล่าวคือเมื่อได้รับวัคซีนแล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ปากมดลูก
มะเร็งตับ
“มะเร็งตับ” นอกจากจะเป็นมะเร็งยอดฮิตที่พบในชายไทยมากเป็นที่สุดเป็นอับดับ 1 แล้วมะเร็งชนิดนี้นี้พบในผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 อีกด้วย โดยสาเหตุปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับมีดังนี้
- เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี – ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติ
- ตับแข็ง – ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับมักจะมีอาการตับแข็งร่วมด้วย
- สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxins) – สารนี้ก่อให้เกิดเชื้อรา อยู่ในอาหารประเภทถั่วลิสงแห้ง พริกแห้ง เต้าหู้ยี้ ฯลฯ หากร่างกายได้รับมากเกินไปอาจะเกิดการตกค้างได้
- สารไนโตรซามีน พบได้ในยากันบูด อาหารที่ใส่ดินประสิว หรือพบผักที่มีสารตกค้าง ซึ่งหากร่างกายได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือบริโภคในปริมาณที่เยอะจนเกินไป
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และไขมันพอกตับ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งตับ
น้ำหนักลด มีไข้ต่ำ เจ็บชายโครงขวา ซึ่งอาการจะแสดงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของโรค และอาจมีอาการมากขึ้นตามการการเปลี่ยนอิริยาบถ หายใจ ไอ หรือคลำก้อนได้ที่ชายโครงขวา ในช่วงท้ายอาจมีไข้เรื้อรัง ตาเหลือง ตัวเหลือง หรือบางรายมีอาการบ่งชี้ว่าเป็นตับแข็ง เช่น ขาบวม ท้องบวม เส้นเลือดโป่งพอง
แหล่งที่มา nakornthon
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY