การรักษาแพทย์ทางเลือก มีหลายรูปแบบแต่อย่าไปเชื่อ! ดื่มปัสสาวะรักษาโรค แถมเสี่ยงโรคเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม มีโรคอะไรบ้างมาดูเลย
ใครเคยได้ยินการรักษาแบบดื่มปัสสาวะตัวเองบ้างไหม เรียกได้ว่าเป็นที่ฮือฮาอยู่ในช่วงนึงเลยก็ว่าได้และแน่นอนว่ามีคนบางส่วนออกมาถกเถียงอย่างมากมาย แต่ก็ยังมีคนที่ไม่เชื่อและยังอยากลองการรักษาแบบดื่มน้ำปัสสาวะอีก ขอบอกเลยว่านอกจากจะไม่ควรดื่มแล้ว ถ้าใครดื่มยังเสี่ยงโรคอีกมากมาย วันนี้ Bright TV จะพามาหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้กันว่า การดื่มน้ำปัสสาวะนั้นเสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง

น้ำปัสสาวะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
สารต่าง ๆ ที่ร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะเกือบทั้งหมด เป็นสารของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย และร่างกายไม่ต้องการใช้ ถ้าคั่งค้างในร่างกายจะเกิดผลเสียได้
ส่วนประกอบในปัสสาวะมี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- กลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออก (Metabolic waste) ที่เกิดจากการสันดาปของร่างกาย ได้แก่ ยูรีย จากกรเผาผลาญโปรตีนและกรดอะมิโน กรดยูริค (Urc acid) จากการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบดิโตน (Ketone compounds) จากการสลายไขมัน
- ยาหรืออนุพันธ์ของยาที่รับประทานเข้าไป
- เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนออกมา
ผลจากการดื่มปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีความเป็นกรด (มีค pH ประมาณ 5 – 6.5) หากดื่มในขณะท้องว่าง อาจทำให้เกิดผลสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารได้
- มีโอกาสได้รับสารอนุพันธ์ของตัวยา (ที่ร่งกายพยายามขจัดออกทางปัสสาวะ) กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมยาในร่างกายมากเกินไป
- มีความเสี่ยงของเชื้อโรค ที่อาจปะปนมากับปัสสาวะ หรือ เกิดจากการจัดก็บปัสสาวะไม่ดี หรือ เก็บไว้เป็นระยะวลานานเกินไป
การดื่มน้ำปัสสวะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ที่สำคัญคือ ทำให้มีการสะสมของเสีย ซึ่งร่างกายต้องการขจัดทิ้งไปแล้ว กลับเข้าไปหมุนเวียนเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ทางที่ดีจึงไม่แนะนำให้ปฏิบัติตาม
แหล่งที่มา chulalongkornhospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY