ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า : ทำอย่างไร? เมื่อคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับสภาวะ โรคซึมเศร้า วิธีรับมือง่ายๆ เพียงแค่ปรับตัวให้เข้าใจ ไม่ใช่ไป กดดัน
โรคซึมเศร้า จัดว่าเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เมื่อเป็นแล้วสามารถเข้ารับการรักษา และการวินิจฉัยโดยแพทย์ เพื่อระบุสาเหตุและนำไปสู่การรักษาอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับอาการป่วยด้วยโรคอื่นๆ
และถึงแม้บางคนจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ทำให้ในบางครั้ง ความไม่เข้าใจ หรือ ความเข้าใจผิด ก็เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ ‘ความสูญเสีย’ ได้

วันนี้ ทีมงานไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) ก็มีวิธีรับมือง่ายๆ หากพบเจอคนใกล้ตัวป่วยเป็น โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นคำแนะนำเบื้องต้นว่าควรปฏิบัติกับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ ‘ไม่ควร’ ปฏิบัติกับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- อย่าบอกปัด ให้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ไปเข้าวัดฟังธรรม หรือทำจิตใจให้สงบ โดยไม่อยู่เคียงข้างพวกเขา เพราะ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้สึกได้ทันทีเลยว่า ‘ไม่มีที่พึ่งพา’ หรือจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่ ‘น่ารำคาญ’ ของคนอื่น อีกทั้งยิ่งตีตัวออกห่างจาก ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะส่งผลให้พวกเขามีความคิดที่จะไม่อยากมีชีวิตอยู่ได้
- อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน หรือไม่อยากพูดถึงเมื่อ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พูดถึงการอยากตาย ซึ่งหลายๆ คนคิดว่าการพูดคุยถึงเรื่อง ‘การฆ่าตัวตาย’ กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แต่ในความเป็นจริงนั้น หากผู้ป่วยเริ่มมีการพูดถึงการอยากตาย แต่คนใกล้ตัวกลับมีท่าทีต่อต้าน หรือทำเป็นไม่สนใจ เพื่อให้ผู้ป่วยเลิกคิด หรือบางคนจะมีคำพูดทำนองว่า “อย่าคิดมาก” “อย่าคิดอะไรบ้าๆ” นั่นจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลง และรู้สึกว่าเราไม่รับฟังในสิ่งที่เขารู้สึกคับข้องใจ และไม่มีวันจะเข้าใจเขาจริงๆ
- อย่ากดดันหรือเร่งรัด ถ้าหาก ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ยังมีอาการไม่ดีขึ้น ห้ามพูด หรือทำอะไรให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า “เมื่อไหร่จะหาย” เพราะนั่นจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยกดดัน และผิดหวัง ซึ่งหากอาการเพิ่งเริ่มดีขึ้น ความเครียดจากการถูกดดันจะยิ่งส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยแย่ลง และอาการของ โรคซึมเศร้า อาจจะเป็นหนักขึ้น

สิ่งที่ ‘ควร’ ปฏิบัติกับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- ชวนผู้ป่วยให้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เล่นกีฬา เล่นเกม ทำงานศิลปะ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะลด ‘ความคิดฟุ้งซ่าน’ แล้ว ยังจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารความสุข อย่าง เอ็นโดรฟิน ออกมาได้ด้วย
- ฟังด้วยความตั้งใจ ไม่คะยั้นคะยอ และไม่ตัดสินใจแทน เพราะ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะมีความคิดว่าตัวเองเป็น ‘ภาระ’ ให้กับคนอื่นอยู่แล้ว ฉะนั้น การที่จะให้ผู้ป่วยได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกนั้น เราจะต้องทำให้ผู้ป่วยมั่นใจก่อนว่าจะมีคนคอยรับฟัง และไม่กดดัน หรือตัดสินพวกเขา โดยการสร้างความไว้วางใจ และบรรยากาศที่รู้สึกสบาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้บอกเล่าในสิ่งที่พวกเขาอยากบอกออกมาอย่างเต็มที่ เนื่องจากในบางครั้ง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ซึ่งหากคนรอบข้าง รอบตัวของผู้ป่วยพร้อมที่จะรับฟัง ก็จะสามารถป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

อ่านข่าวที่น่าสนใจ
- 5 วันเกิด ต่างๆ ต่อไปนี้ เจ็บช้ำมาเท่าไหร่ กำลังจะหยุดลงไว้แค่นี้ โชคร้าย กำลังจะหมดไปจากชีวิต
- 5 ราศี ต่างๆต่อไปนี้ ท่องคาถา พารวย โอมจงมีเงิน มีทอง มีคนรัก คนหลง มีแต่คนเมตตา
- คำพูดสำคัญมาก! คำพูดที่ควรพูด และไม่ควรพูด เมื่อต้องพูดกับผู้ป่วยซึมเศร้า
- เป็นแบบนี้ ไบโพลาร์ชัวร์! วิธีรับมือกับผู้ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์
- เต๋า ทีเจ ถ่ายคลิปเล่นกับ โอ่ง ผู้จัดการ Urboy TJ ก่อนซิ่งรถหรูหายกลางดึก