ชาวพนักงานออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษา ใครก็ตามที่อยู่กับหน้าคอม สมาร์ทโฟน บ่อยๆ เลี่ยงได้เลี่ยง! 5 สิ่งไม่ควรทำ เร่ง จอประสาทตาเสื่อม
การดำเนินชีวิตสมัยนี้ก็ต้องอยู่กับ หน้าจอคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค และสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน หรือแม้แต่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งหน้าจอของสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดโรคหรือความผิดปกติที่ตาได้ โดยเฉพาะคนที่ต้องจอคอมนานๆ วันละหลายๆ ชั่วโมงจนตาเริ่มอาการ ตาแห้ง, ตามัว, ปวดตา ซึ่งนั่นก็คือสัญญาณของโรค จอประสาทตาเสื่อม นั้นเอง อาการเสื่อมของตาโดยธรรมชาติอาจจะเกิดช่วงวัยสูงอายุแต่สมัยนี้การเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมพบในคนอายุน้อยมากขึ้น หรือ ก่อนวัยอันควรนั้นเอง

5 สิ่งไม่ควรทำ เร่งจอประสาทตาเสื่อม
วางคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม
- เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรวางจอคอมพิวเตอร์ด้านข้างหน้าต่าง โดยมีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 – 70 ซม. จัดระดับจดภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่กว่าระดับสายตาประมาณ 4 – 9 นิ้ว ที่สำคัญไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
ไม่กล้ากำจัดแสงไฟที่รบกวน
- นอกจากวางคอมพิวเตอร์ถูกตำแหน่งแล้ว ควรปิดไฟบางดวงที่รบกวนการทำงาน เพราะความสว่างที่มากเกินไป มีผลต่อสายตา เพื่อป้องกันแสงที่เข้าตาโดยตรง ควรปิด หรือใช้มู่ลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน
ใช่ขนาดตัวอักษรไม่เป็น
- จำไว้ว่าทุกครั้งที่พิมพ์งาน นอกจากเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอแล้ว ควรปรับความเข้มของตัวอักษรให้เหมาะสมโดยสังเกตได้จากยังสามารถอ่านตัวอักษรได้ใน ระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน
สวมแว่นผิด
- สีเลนส์ที่ควรเลือกใช้ ควรเป็นสีเขียวอ่อน เพราะจะช่วยทำให้รู้สึกสบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้า ฟลูออเรสเซนต์ รวมถึงช่วยลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 – 70 ซม. ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ จะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือหรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป
ลืมกะพริบตา-ไม่ยอมลุกจากเก้าอี้
- สมาธิที่จดจ่อขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้อัตราการกะพริบตาลดลงจาก 20 – 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 – 8 ครั้งต่อนาทีถ้าไม่อยากตาแห้ง หรือต้องใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น การกะพริบตาถี่ๆ หรือลุกยืดเส้นยืดสายช่วยได้
คำแนะนำ บริหารกล้ามเนื้อตาง่าย ๆ
- กลอกตาขึ้น – ลงช้า ๆ 6 ครั้ง โดยให้เหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหาร เมื่อทำครบแล้วให้กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด ทำซ้ำ 2 – 3 ครั้ง
- จากนั้นชูนิ้วขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจ้องมองไปที่ระยะไกล ๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามองระยะใกล้ที่นิ้วมือใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2 – 3 วินาที ทำสลับไปมา
- กลอกตาเป็นวงกลมช้า ๆ โดยเริ่มกลอกตาตามเข็มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกาสลับไปมา
ทั้งนี้คนที่ใช้สายตาบ่อยๆ วันละมากกว่า 8 ชั่วโมงติดต่อกัน ที่สำคัญคือควรที่จะไปตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ตรวจเช็กจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตา หรือถ้าหากสังเกตได้ว่าตามีความผิดปกติไป ความสามารถในการมองเห็นลดลง ก็ควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษาที่ถูกวิธี
แหล่งที่มา สสส
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY