ออกกำลังกายหนักเกินบั่นทอนร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่เรื่องดี! ภาวะ Overtraining Syndrome เหนื่อยง่ายผิดปกติ เหงื่อออกมากขึ้น
ภาวะที่คนชอบออกกำลังกายหลายๆ คนก็น่าจะเป็นกันแต่อาจจะไม่ได้สังเกตุนั่นก็คือ “Overtraining Syndrome” นั่นเอง กลุ่มอาการหรือการตอบสนองของร่างกายที่ส่งผลต่อสมรรถภาพของร่างกาย (Physical Performance) และส่งผลในเรื่องของจิตใจ ทำให้อารมณ์แปรปรวนหรือมีความผิดปกติของอารมณ์ (Mood Disturbance) จากการออกกำลังกายที่หนักจนเกินรับไหว สาเหตุคืออะไรมาดูเลย

สาเหตุของ Overtraining Syndrome
- ฝึกซ้อมมากเกินไป โดยออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ไม่เหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกาย อาทิ ปริมาณการซ้อม ความหนักหน่วงของการซ้อม เป็นต้น
- พักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ พักผ่อนระหว่างซ้อมน้อยเกินไป
- ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เช่น โปรตีนน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อขาดการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ, คาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายสะสมพลังงานได้ไม่เต็มที่, สารน้ำหรือน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำระหว่างออกกำลังกาย เป็นต้น
- ความเครียดสะสมทำให้เกิดภาวะ Overtraining Syndrome ได้เช่นกัน
กลุ่มเสี่ยง Overtraining Syndrome
- ผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป
- นักกีฬา
- ผู้ฝึกซ้อมเพื่อเข้าแข่งขัน
อาการ Overtraining Syndrome
- สมรรถภาพการออกกำลังกายลดลง
- ไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามเป้าที่วางไว้
- เหนื่อยง่ายผิดปกติ
- หอบเหนื่อยมากขึ้น
- เหงื่อออกมากขึ้น
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร
- เครียดโดยไม่มีสาเหตุ
ป้องกัน Overtraining Syndrome
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักควรต้องระวังภาวะ Overtraining Syndrome โดยจัดวางโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม อาจใช้หลักการง่าย ๆ คือ นักกีฬาหรือผู้ที่เตรียมแข่งขันควรทำเวลาให้ดีขึ้นไม่เกิน 10% ในแต่ละสัปดาห์ หากเป็นนักวิ่งไม่ควรเพิ่มระยะทางมากจนเกินไป ไม่ควรเกิน 10% ในแต่ละสัปดาห์ และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้มีคุณภาพ

แหล่งที่มา โรงพยาบาลกรุงเทพ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY