นั่งนานเป็นเหตุ! เสี่ยง “โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท” มาทำความรู้จักเพื่อป้องกันการเกิดโรคกันเถอะ!
ชาวออฟฟิตมักพบกับปัญหาเหล่านี้ ปวดคอ บ่า ไหล่ หรือที่เรียกว่า โรคออฟฟิตซินโดรม อีกหนึ่งโรคที่ต้องระวังอย่างมาก และมักมาพร้อมๆกันได้ เกิดจากการนั่งนานๆ นั่งท่าเดิมไม่เปลี่ยนท่า นั่งไขว่ห้าง จนทำให้เกิดอาการปวดที่สะโพก ก้น หรือบางราย มีอาการชามาถึงปลายเท้า หนักไปกว่านั้นอาจสูญเสียความรู้สึก เดินไม่ได้ ที่กล่าวมาทั้งหมด คืออาการของ โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ไม่ว่าคุณจะนั่งทำงานอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะบ้าน ออฟฟิต ควรจะลุกเดิน เปลี่ยนท่าบ่อยๆ เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดโรคนี้ วันนี้ ไบรท์ทีวี (BrightTV) จะพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับร่างกายตนเอง

อาการของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- มีอาการปวดสะโพกขณะนั่ง ยืน หรือนอนนานมากกว่า 15-20 นาที
- มีอาการปวดสะโพก หรือมีอาการชา (Paresthesia) ไปตามบริเวณเชิงกราน ก้น และต้นขาด้านหลัง ซึ่งส่วนมากจะอยู่บริเวณเหนือเข่า
- อาการปวดสะโพกจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว แต่อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออยู่ในอิริยาบถนิ่ง ๆ เช่น นั่ง หรือนอนนาน ๆ
- มีอาการปวดสะโพกขณะเปลี่ยนท่า เช่น จากท่านั่งลุกขึ้นยืน หรือทำท่าย่อตัว (Squat)
- เดินได้ลำบาก (เดินกระเพลก หรือปลายเท้าข้างที่มีปัญหาตก)
- อาจมีอาการชาเท้า หรืออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาข้างนั้น
- ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างสูญเสียความรู้สึกหรือไม่มีแรง
- ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะของตัวเองได้ ควรรีบพบแพทย์โดยทันที
สาเหตุของโรค
กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
- นักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไป
- วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
- นั่งเป็นเวลานาน
- ยกของหนัก
- นั่งไขว่ห้างนานๆ
- เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
การรักษา
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดการกระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น ท่างอสะโพก การหุบสะโพกเข้าด้านใน เพราะจะทำให้เส้นประสาทตึงมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อไปกดเบียดเส้นประสาทเพิ่มขึ้น
- การออกกำลังกาย การว่ายน้ำ หรือการยืดกล้ามเนื้อสะโพก
- การทำกายภาพบำบัด ประคบเย็นและประคบร้อนบริเวณก้นและขาทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวด
- การรักษาด้วยยา เพื่อลดอาการปวดของเส้นประสาท

7 วิธีการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงด้วยตนเอง
- ประคบอุ่นบริเวณสะโพกที่มีอาการปวด 15-20 นาที ความรู้สึกคืออุ่นสบาย
- นั่งบนเก้าอี้ ยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางไว้ที่ขาอีกข้าง ข้อเท้าของขาที่ยกขึ้นอยู่ที่ต้นขาของขาอีกข้าง ถ้ายังไม่รู้สึกตึงให้ก้มตัวลงไปเรื่อยๆจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15-20 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ
- นอนหงายยกขาข้างที่ปวดมาไว้อีกข้าง ใช้มือจับหัวเข่าและดึงลงมา จนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ มืออีกข้างยกขึ้นจับหัวเตียง หัวไหล่ทั้ง 2 ข้างแนบกับพื้น ยืดค้างไว้ 15-20 วินทาที ทำซ้ำ 5 รอบ
- นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง ไขว้ขาข้างที่ปวดขึ้น จากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างจับใต้เข่าข้างที่ไม่ปวดแล้วดึงขาให้ชิดอกจนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ ยืดค้างไว้ 15-20 นาที ทำซ้ำ 5 รอบ (ไม่ยกศีรษะหรือหัวไหล่ขึ้น)
- 5. ยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางบนเก้าอี้ โต๊ะ หรือเตียง ถ้ายังไม่รู้สึกตึงที่ก้น ให้ก้มตัวลงจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บค้างไว้ 15-20 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ
- ใช้ Foam Roller วางไว้ที่ก้นข้างที่ปวด จากนั้นใช้น้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนโฟมขึ้น – ลง เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึง
- ใช้ลูกเทนนิสวางไว้ที่ก้น บริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นใชน้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนลูกเทนนิส เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึง
สามารถดูภาพประกอบได้ที่นี้
ที่มา รีแฮปแคร์คลินิก