รู้หรือไม่ว่า การช่วยตัวเอง มีประโยชน์! ช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ แล้วมันช่วยได้ยังไง วันนี้มีคำตอบ!
วันนี้เรามาในเรื่องของต่อมลูกหมากกัน ต่อมลูกหมากเป็นต่อมรูปวอลนัทขนาดเล็กในเพศชายที่ผลิตน้ำอสุจิและขนส่งตัวอสุจิ มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งในเพศชายที่พบได้บ่อยที่สุด และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งในเพศชายมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด วันนี้เราจึงมาเสนอวิธีป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากกัน

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก
แม้ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่แพทย์ทราบดีว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเริ่มต้นขึ้นเมื่อเซลล์ในต่อมลูกหมากมีการเปลี่ยนแปลงในดีเอ็นเอของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเซลล์ปกติ เซลล์ที่ผิดปกติจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเมื่อเซลล์อื่นตาย เซลล์ผิดปกติที่สะสมอยู่ก่อตัวเป็นเนื้องอกที่สามารถเติบโตเพื่อบุกรุกเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง เมื่อเวลาผ่านไป เซลล์ที่ผิดปกติสามารถแตกออกและแพร่กระจาย ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งต่อมลูกหมากอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อลุกลามมากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการแสดง
- ปัสสาวะลำบาก
- แรงในกระแสปัสสาวะลดลง
- มีเลือดปนในปัสสาวะ
- มีเลือดในน้ำอสุจิ
- ปวดกระดูก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก
- อายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากอายุ 50 ปี
- คนผิวดำมีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าคนเชื้อชาติอื่น รวมถึงมีแนวโน้มที่จะลุกลามมากขึ้นด้วย
- ประวัติครอบครัวทางสายเลือด เช่น พ่อ พี่น้อง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น
- นอกจากนี้หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมียีนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม (BRCA1 หรือ BRCA2) ความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากอาจสูงขึ้นเช่นกัน
- โรคอ้วน ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อเทียบกับผู้มีน้ำหนักตัวปกติ ทั้งนี้การศึกษายังพบอีกว่า ในคนอ้วน มะเร็งมีแนวโน้มที่จะลุกลามมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษาครั้งแรก
การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
- เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสีและหลากหลาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักและทำให้อารมณ์ดีขึ้น หากเพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ให้เริ่มช้าๆ และเพิ่มเวลาออกกำลังกายในแต่ละวัน
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี
- กรณีพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาหรือใช้วิธีอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยง
การช่วยตัวเอง ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจริงหรือไม่?
ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ที่จุดเชื่อมต่อของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ ซึ่งช่วยกำหนดเส้นทางของสเปิร์มในการหลั่งอสุจิ โดยพุ่งออกมาในท่อปัสสาวะ เมื่อสารก่อมะเร็งตามธรรมชาติถูกสร้างขึ้นในต่อมลูกหมาก สะสมเป็นความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าการหลั่งบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือการช่วยตัวเอง อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยการศึกษาในปี 2016 พบว่าผู้ชายที่หลั่งออกมาอย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน ลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณ 20% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่หลั่งเพียง 4-7 ครั้งต่อเดือน
ดังนั้นการพุ่งออกมาของอสุจิ อาจช่วยกวาดล้างสารก่อมะเร็งที่อาจเป็นอันตรายเหล่านี้และลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยมีการยืนยันจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2018 ซึ่งพบความเชื่อมโยงทางชีววิทยาระหว่างการหลั่งบ่อยครั้งและการพัฒนาของเนื้องอกต่อมลูกหมาก
แหล่งที่มา สมิติเวช
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY