เครียดเกินไป นี่ฉันติดหรือยัง? วันนี้ไบรท์ ทูเดย์ จะพาไปดูเคล็บลับ ดูแลสุขภาพจิตใจอย่างไรดี ในช่วงสถานการณ์โควิด19 กัน
หลาย ๆ คนคงมีความวิตกกังวลและความเครียด อีกทั้งยังเกิดคำถามในใจอีกว่า ‘นี่ฉันติดหรือยัง?‘ หรือบางท่านอาจจะอยู่ในระหว่างการรอเตียง หรือเข้าพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลแล้วเครียดจนลืมดูแลสุภาพใจตัวเอง เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ คนทำงานเองก็ต้องดูแลสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงซึ่งไม่เพียงมีผลกับการดำเนินชีวิต แต่ยังส่งผลดีต่อการทำงานท่ามกลางความตึงเครียดนี้ด้วย
วันนี้ไบรท์ ทูเดย์ จะพาทุกคน มาดูเคล็ดลับง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพกายใจในช่วงวิกฤติโควิด-19 กัน หากอยากรู้แล้ว ก็ไปดูกันเลย
“Mental health and psychosocial considerations during COVID-19 outbreak” โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำว่า
- ดูแลตนเองในช่วงเวลานี้ โดยพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้เพียงพอและถูกสุขอนามัย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างต่อเนื่อง อาจลองทำงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน
- ไม่ตีตราหรือเรียกผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 ด้วยถ้อยคำรุนแรง ช่น “ไอ้โควิด” “ครอบครัวโควิด” หรือ “ตัวเชื้อโรค” พราะเขาเป็นเพียง “คนที่ป่วยด้วยโควิด” เท่านั้น ซึ่งหลังจากหายป่วยจากแล้วพวกเขาก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- ลดการดู การอ่าน หรือการฟังข่าวที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลเกินไป ไม่หลงเชื่อข่าวลือ เลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น ช่น องค์กรอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
- อัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับโรคพียง 1-2 ครั้งต่อวันเท่านั้น เพราะกระแสข่าวต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมาเร็ว ตลอดวลาสามารถทำให้ทุกคนรู้สึกกลัวกังวลได้ง่ายๆ การอ่านซ้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ จะช่วยให้คุณแยกแยะข้อเท็จจริงจากข่าวลือ ซึ่งข้อก็จริงช่วยลดความวิตกกังวลได้
- ปฏิบัติตามชั้นตอนเพื่อป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักอย่างเคร่งครัด (เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือแตะหน้า ไอจามปิดปาก อยู่บ้าน เว้นระยะห่าง จากผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งกักตัวเมื่อเจ็บป่วย) เพื่อเสริมสร้งความเชื่อมั่นของตนเองในการป้องกันโรค
- ปกป้องตนเองและช่วยหลือผู้อื่น แบ่งปันในสิ่งที่ทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนไร้บน ผู้บกพร่องทางสติปัญญา
- หาโอกาสในการพูดถึงเรื่องราวในเชิงบวกของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 เช่น การแชร์เรื่องราวของ ผู้ที่หายป่วย หรือเรื่องราวของผู้ที่เคยดูแลผู้ป่วยจนหายดีแล้ว
- ให้เกียรติผู้ดูแลและผู้ปฏิบัติงานทางสาธารณสุขที่กำลัง รักษาผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
- อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่แค่ในตัวบ้าน แต่ให้หาเวลาสั้นๆ ออกไปเดินเล่นในพื้นที่ใกล้ๆ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียว ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราได้ขยับเนื้อตัวแล้ว ยังช่วยเยียวยาจิตใจและอารมณ์ และช่วยลดการสร้างฮอร์โมนความเครียดได้ด้วย
