ก้าวไกล แถลง สู้คดียุบพรรค ตอบ 2 คำถาม ศาลรัฐธรรมนูญ โต้แย้ง กกต. ยืนยัน! คำร้อง กกต. ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ชี้ ทำให้เกิด 2 มาตรฐาน
วันที่ 30 มิ.ย. 2567 ที่ทำการพรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้มีการแถลงข่าวความคืบหน้าคดียุบพรรคก้าวไกล โดยเริ่มจากการ ย้อนดู 9 ข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล




พร้อม เอกสารอบรบพรรคการเมืองของ กกต. ซึ่งเอกสารสัมปันนาการอบรบเชิงปฏิบัติแนวทางดำเนินงานแก่พรรคการเมือง พ.ย. 2566 เป็นแผนผังการดำเนินงาน ปรากฎไว้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 92 ไม่ว่ามจะมีหลักฐานเพียงพอ หรือ ไม่เพียงพอ ลงมาด้านล่างมันจะมารวมที่กล่องเดียว ที่เขียนไว้ว่า เปิดโอกาสให้ผู้ร้องพรรคการเมืองได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสในการโต้แย้งพยานหลักฐานในชั้น กกต. ไม่ว่ายังไง เอกสารของ พ.ย. ก็ยังย้ำระเบียบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ตัวเองออกมาอยู่ดีว่า ยังไงก็ต้องมีโอกาสให้มีส่วนร่วมในชั้น กกต. ก่อนที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญ
ในการทำ คำร้องยุบพรรคของ กกต. (31 ม.ค) คำวินิจฉัย 3/67 ทางนายพิธา ย้ำว่า คำนิจฉัยไม่ผูกผันกัน ด้วย 2 เหตุผล เนื่องจาก คดี 3/67 เป็นคดีของศาลรัฐธรรมนูญ 49 (1) (2) ส่วนคดีปัจจุบัน เป็นคดีของ พ.ร.ป.พรคการเมือง มาตรา 92 (1) ความหนักของโทษก็ต่างกัน
ไทม์ไลน์การต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล
-18 มี.ค. 67 กกต .ยื่นยุบ พรรคก้าวไกล ต่อศาลรัฐธรรมนูญ
-3 เม.ย. 67-4 มิ.ย. 67 ระยะเวลาทำคำชี้แจง
-4 มิ.ย. 67 ก้าวไกล ยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
-19 มิ.ย.67 ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง ก้าวไกล ทำนับทึกถ้อยคำภายใน 7 วัน
2 คำถาม ให้พรรคก้าวไกลตอบภายใน 7 วัน
1. พรรคก้าวไกล ได้โต้แย้งต่อ กกต. ในประเด็นที่พรรคไม่มีโอกาสชี้แจงในชั้นพิจารณาของ กกต. หรือไม่
2. การกระทำตามข้อเท็จจริง ตมคดี 3/67 อาจเป็น “ปฏิปักษ์” หรือไม่?
-3 ก.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดพิจารณาต่อไป
-9 ก.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญ นัดคู่กรณีตรวจพยานหลักฐาน



นายพิธา กล่าวว่า เพราะฉะนั้น หากผมได้มีโอกาสได้อธิบายเจตนา เสนอพยานหลักฐานของผมตั้งแต่ชั้น กตต. ตามระเบียบของ กกต.เอง ผมเชื่อว่ามีโอกาส ยกคำร้อง ตั้งแต่ชั้น กกต. และนั่นเป็นโอกาสที่ผมสูญเสียไป ไม่สามารถที่จะกลับมาแก้ไขได้แล้ว