องค์การโบราณวัตถุแห่งอิสราเอล (IAA) เปิดเผยการค้นพบ งาช้างยักษ์เก่าแก่ 500,000 ปี ความยาว 2.5 เมตร ช่วยไขความกระจ่างเกี่ยว มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
องค์การโบราณวัตถุแห่งอิสราเอล (IAA) เปิดเผยการค้นพบงาช้างเก่าแก่ 500,000 ปี ความยาว 2.5 เมตร บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของอิสราเอล ซึ่งช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะวิถีการล่าสัตว์ของพวกเขา
องค์การฯ มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ และมหาวิทยาลัยเบน กูเรียน เป็นผู้ขุดพบและกำลังทำการวิจัยฟอสซิลงาช้างนี้ ซึ่งเป็นของช้างงาตรงหรือพาเลโอโลโซดอน แอนทิคคัส (Palaeoloxodon antiquus) ขนาดลำตัวใหญ่มหึมา ที่ปรากฏกายขึ้นในภูมิภาคดังกล่าวราว 800,000 ปีก่อน และสูญพันธุ์ไปเมื่อ 400,000 ปีก่อน
- ค้นพบฟอสซิลไข่ 2 ฟองของ ฮาโดรซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ อายุราว 66-72 ล้านปี
- จีนค้นพบฟอสซิล ปลา 2 สายพันธุ์ ที่มีหน้าตาคล้าย อีโมจิ อายุราว 438 ล้านปี
- ค้นพบฟอสซิล สัตว์พันธุ์ใหม่ เป็นสัตว์เลื้อยคลานในทะเล เผยเป็นสัตว์หางที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ
การค้นพบทางโบราณคดีหลายครั้งก่อนหน้า เผยว่าแหล่งขุดค้นข้างต้นมีอายุสืบย้อนถึงปลายยุคหินเก่าตอนต้น โดยมีการค้นพบเครื่องมือหินเหล็กไฟ ซากกระดูกวัวควายป่า ฮิปโป กวาง หมูป่า และม้าป่าที่สถานที่แห่งนี้ด้วย
อาวี เลวี นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านยุคก่อนประวัติศาสตร์ และผู้อำนวยการขุดค้น ระบุว่างาช้างดังกล่าวมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในแหล่งขุดค้นยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตะวันออกใกล้ (Near East)
ปัจจุบันคณะนักโบราณคดีกำลังศึกษาว่างาช้างนี้ ซึ่งพบแยกจากกะโหลกศีรษะและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เป็นเศษซากหลงเหลือจากช้างที่ถูกล่าหรือรวบรวมโดยคนท้องถิ่นยุคก่อนประวัติศาสตร์ รวมถึงมีความสลักสำคัญทางสังคมหรือจิตวิญญาณหรือไม่
ข้อมูลจาก xinhuathai
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY