ผู้ว่าฯชัชชาติ คุมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เก็บซาก ปลาหมอคางดำ เอเลี่ยนสปีชีส์ ฝังกลบดิน หลังขาดออกซิเจน ลอยตายเต็มบึงมักกะสัน
วันที่ 16 ก.ค. 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ลงพื้นที่เก็บซากปลาหมอคางดําและปลานิล ภายในบึงมักกะสัน บริเวณสะพานจตุรทิศ ถนนจตุรทิศ แขวงและเขตดินแดง กรุงเทพฯ หลังโซเชียลแชร์ภาพชาวบ้านแห่จับปลาเป็นจํานวนมาก ตามที่ได้มีการนำเสนอไปนั้น

ด้าน นายชัชชาติ ผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า สาเหตุของปลาตายเกิดจากปลาน็อคนํ้าเนื่องจากขาดออกซิเจน เพราะเมื่อวานนี้ โรงบําบัดนํ้าเสียดินแดงมีการปิดปรับปรุงซ่อมปั้มนํ้าตั้งแต่เวลา 03.00 – 23.00 น. ทําให้ประตูนํ้าถูกปิด ปลาจึงต้องอาศัยนํ้าที่มีอยู่ในบ่อซึ่งมีออกซิเจนจํานวนจํากัดและน้อย จนสุดท้ายมีปลาตายเกลื่อนเป็นจํานวนมาก ซึ่งปัญหาที่เจอเมื่อวานนี้ไม่เพียงแต่ ปลาหมอคางดํา แต่ยังมีเรื่องนํ้าที่หยุดปล่อยจากการซ่อมบํารุงอีกด้วย โดยวันนี้จะเห็นว่ามีการปล่อยนํ้าออกมาตามปกติ ซึ่งนํ้าที่เห็นเป็นนํ้าคุณภาพดีที่ผ่านกระบวนการบําบัดเรียบร้อยแล้ว



ในส่วนของปลาที่เจอเมื่อวานนี้นั้นส่วนใหญ่จะเป็น ปลานิล 80 เปอร์เซ็นต์ อีก 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นปลาหมอคางดํา อย่างไรก็ตามยอมรับว่าถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลเพราะาปลาหมอคางดําเข้ามาถึงพื้นที่เมืองแล้ว สําหรับพื้นที่ที่เจอปลาหมอคางดําเยอะจะเป็นที่บางขุนเทียนแถวนํ้ากร่อย ซึ่งวันนี้จะมีประชุมผู้ว่าฯรอบพื้นที่ปริมณฑล ก็จะหารือร่วมกันอีกครั้ง
ส่วนของ มาตการป้องกัน นายชัชชาติ ระบุว่า กรมประมงมีแผนแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว ขั้นแรกคือจับให้มากที่สุด ขั้นที่สองคือปล่อยปลานักล่า เช่นปลากระพงขาว ขั้นที่สามคือเพิ่มมูลค่าทําปลาแดดเดียวหรือทําอาหาร ขั้นที่สี่คือแบ่งเขตอย่าให้มีกระแพร่กระจายข้ามเขต ขั้นที่ห้าคือหารือร่วมกับเอกชน ขั้นที่หกใช้เทคโนโลยี อาจมีการตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นหมัน ซึ่งกรมประมงกําลังดําเนินการ และสุดท้ายคือการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเกษตรกร