เผยความคืบหน้าของ วัคซีนฝีมือคนไทย “ChulaCov19” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ล่าสุดเริ่มทดลองฉีดในมนุษย์ครั้งแรกแล้ว
ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้วิธีการนำเข้าวัคซีนโควิด-19จากต่างประเทศ และประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยบริษัทสยามไบโอเทค แต่ล่าสุดถือว่าเป็นเรื่องที่น่าจะแสดงความยินดีกับคนไทยที่พัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยฝีมือคนไทย โดยขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการทดลองในมนุษย์แล้ว โดยวัคซีนตันนี้ได้รับความร่วมมือคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทยและ โดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

ทำความรู้จักวัคซีน “ChulaCov19” วัคซีนฝีมือคนไทย
- ChulaCov19 ถือเป็นวันซีนตัวแรกของไทย ที่ได้รับความร่วมมือคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย และ แพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
- เป็นวัคซีนที่มาจาก mRNA วัคซีนเทนโนโลยีใหม่ เป็นการใช้สารพันธุ์กรรมของไวรัสเข้าร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นเทคโนโลยีเดียวกับ Pfizer-BioNTech และ Moderna
- สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิตู้เย็นปกติ) ได้นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ถือว่าเก็บรักษาได้ง่ายกว่าวัคซีนmRNAตัวอื่นๆ
ความคืบหน้าของวัคซีน “ChulaCov19”
- ก่อนหน้าที่ทาง ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการทอลองฉีดวัคซีนในสัตว์ คือ ลิงและหนู สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง
- ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ได้เริ่มการทดลองฉีดวัคซีนChulaCov19ในมนุษย์ หลังจากผลการทดลองในสัตว์คือว่าประสบความสำเร็จ โดยแบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกเป็นสองกลุ่มคือ 18 – 55 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน และ 65 – 75 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน
ในจำนวนสองกลุ่มข้างต้น จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร รวมถึงต้องศึกษาว่าคนไทยเหมาะกับการฉีดกี่ไมโครกรัม จะได้รู้ขนาดที่ปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้สูง หลังจากนั้นจึงเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกระยะที่ 2 การทดสอบในระยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
- อีกทั้งยังทำการพัฒนาและวิจัยคู่ขนานกับ เพื่อรองรับเชื้อดื้อยา หรือ เชื้อกลายพันธุ์ ที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวล อาทิ สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล
- หากเป็นไปตามแผน จะสามารถทดลองวัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ที่ดื้อวัคซีนได้เพื่อทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้
สามารถติดตามข่าวสาร และ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV
ข่าวที่น่าสนใจ