เช็กหรือยัง? ร้านที่ร่วมโครงการ “Easy E-Receipt” ช้อปที่ไหนได้เงินคืน 1 มกราคม -15 กุมภาพันธ์ 2567 อย่าลืม! ขอรับ “e-Tax Invoice”
โฆษกรัฐบาลย้ำเตือนคนไทย 1 มกราคม -15 กุมภาพันธ์ 2567 หากซื้อสินค้าหรือรับบริการตามที่กำหนด ขอรับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt สามารถขอลดหย่อนภาษีได้
วันนี้ (4 มกราคม 2567) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชาสัมพันธ์มาตรการ “Easy E-Receipt” ย้ำเตือนคนไทยผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ขอหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice หรือ e-Receipt) ยอดรวมสูงสุดถึง 50,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้


โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เชื่อมั่นว่าจะเป็นแรงส่งกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจประเทศให้ขยายตัว และต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้กำหนดมาตรการ “Easy E-Receipt” กระตุ้นการใช้จ่าย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร ให้เป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยไม่รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 1
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

ทั้งนี้ โฆษกรัฐบาลได้เผยแพร่คำตอบเพื่อคลายข้อสงสัย ดังนี้
- ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ ตามมาตรการ Easy E-Receipt คือบุคคลธรรมดา เท่านั้น ไม่รวม ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ใบกำกับภาษีต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพียงคนเดียว
- ผู้ซื้อมีที่อยู่ตามบัตรประชาชน กับที่อยู่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันจะใช้ที่อยู่ตามบัตรประชาชน หรือ ที่อยู่ปัจจุบันก็ได้
- ต้องเป็นการชำระค่าบริการและใช้บริการ ในช่วง 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567เท่านั้น
- ค่าซื้ออาหารในโรงแรม สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากโรงแรมสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ของค่าซื้ออาหารได้
- ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากเป็นค่าที่พักโรงแรมหรือบริการนำเที่ยวระหว่าง 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
- ค่าซ่อมรถ สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากเป็นการซ่อมและจ่ายค่าซ่อม ระหว่าง 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
- การซื้อทองรูปพรรณสามารถนำมาลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้
ร้านที่ร่วมโครงการ
✅ Central / Tops
✅ 7-eleven
✅ Uniqlo
✅ Lotus
✅ Makro
✅ Gourmet Market Online
✅ Big C
✅ Banana
✅ Sizzler
✅ Homepro
✅ Loft
✅ Watsons
✅ Robinson
✅ Verasu
✅ Studio 7
✅ Tha Mall
✅ Emporium
✅ Paragon
✅ Emsphere
✅ Emquartier
✅ Kinokuniya
✅ Se-ed
✅ Dyson
✅ b2s
✅ Naiin
✅ Powerbuy
✅ IT City
✅ ICONSIAM
✅ Siam Takashimaya
✅ Starbuck
✅ Ikea online
✅ มั่งคง gadget
✅ swensen
✅ Autobag
✅ supersport
✅ ไทวัสดุ
ร้านที่ไม่ร่วมโครงการ
❌ Foodland
❌ Red sun
❌ Zara
❌ Hachiban Ramen
❌ Maguro
❌ Masaru
❌ Copper
❌ Sukishi
❌ Saemaeul
❌ ตี๋น้อย
❌ Muji
❌ MK
❌ Yayoi
