มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนค้นพบสิ่ง เครื่องมือหิน ที่ประดิษฐ์จากหินหายาก อายุราว 20,000 ปี ซึ่งช่วยอธิบายวิธีประดิษฐ์เครื่องมือหินในยุคหินเก่า (Paleolithic) ให้กระจ่างยิ่งขึ้น
ครั้งแรก! จีนขุดพบ ไวน์ผลไม้ ในกาน้ำสัมฤทธิ์โบราณยุคก่อนราชวงศ์ฉิน
สวีถิง ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวัตถุวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลจี๋หลิน ระบุว่าสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นแกนใบมีดทรงกรวยยาว 53 เซนติเมตร หนัก 16.3 กิโลกรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 16 เซนติเมตร โดยประดิษฐ์จากออบซิเดียน (obsidian) หรือแก้วภูเขาไฟ รวมถึงมีรอยที่เกิดจากการลอกหินเทียม 14 รอย
นักโบราณคดีจีน ค้นพบหลุม บูชายัญ – ซากวัตถุโบราณ อายุราว 3,000 ปี
สิ่งประดิษฐ์ยุคบรรพกาลนี้ถูกพบครั้งแรกในพื้นที่ก่อสร้างของเมืองเหอหลง ซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาตะวันออกของเทือกเขาฉางไป๋ โดยปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของชุดสะสมชั่วคราวในพิพิธภัณฑ์ประจำเมือง
“แกนหินนี้เป็นงานฝีมือชั้นดี มีคุณค่าต่อการทำความเข้าใจวิธีทำเครื่องมือหินในภูมิภาคเขาฉางไป๋ช่วงยุคหินเก่า” จางฝูโหย่ว นักวิจัยจากสถาบันวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกล่าว
ขุดเจอ! อิตาลีพบ รถม้าโบราณ แห่งปอมเปอี หลักฐานหายากในประวัติศาสตร์!
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Xinhua