เมื่อไม่นานนี้ มีการค้นพบ ฟอสซิลปลา จากคณะนักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (IVPP) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ซึ่งเป็นซากฟอสซิลปลาวงศ์หัวตะกั่ว (Neopterygii) ขนาดใหญ่ที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งมีความเก่าแก่กว่า 244 ล้านปี ในเมืองผานโจว มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยตั้งชื่อว่า “ปลาดุร้ายแห่งผานโจว”
อลังการงานสร้าง! อียิปต์ค้นพบ นครทองคำที่สาบสูญ ใต้ผืนทราย! มีอายุถึง 3,000 ปี

เก่าแก่ ! ปักกิ่ง พบ ผนังดินอัดโบราณ อายุยาวนานกว่า 3,000 ปี
ปลาดุร้ายแห่งผานโจวมีลำตัวยาว 26 เซนติเมตร และมีลักษณะนิสัย ดุร้ายและก้าวร้าว ซึ่งนับเป็นการค้นพบหลักฐานครั้งใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดของปลาตระกูลดังกล่าว และเป็นการค้นพบปลาดุร้ายในกุ้ยโจวเป็นครั้งแรก โดยการค้นพบครั้งนี้สะท้อนการปรับตัวทางนิเวศวิทยาของปลาตระกูลนี้ที่มีความหลากหลายและไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ช่วยให้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ด้วย

แปลกใหม่! จีนพบ บ่อน้ำโบราณ ทรง 9 เหลี่ยม อายุกว่า 2,000 ปี

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Xinhua