เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 63 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ประชาชนใน เยอรมนี กว่า 17,000 คน ออกมาเดินขบวนในกรุงเบอร์ลิน เพื่อต่อต้านมาตรการป้องกันโควิด19 ที่รัฐบาลบังคับใช้นำมาใช้เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด19 รวมถึงการสวมหน้ากากในที่สาธารณะ โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ตำรวจเยอรมันระบุว่า ผู้เข้าร่วมการประท้วงมีหลากหลายกลุ่มจุดยืนมาก ทั้งกลุ่มแนวคิดเสรีนิยม กลุ่มสนับสนุนรัฐธรรมนูญ และกลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มขวาจัดที่โบกธงสัญลักษณ์จักรวรรด์เยอรมนีสีขาวดำและแดง และถือป้ายต่อต้านการสวมหน้ากากด้วย โดยผู้ประท้วงได้ร้องตะโกนคำขวัญขณะชุมนุมว่า ” ‘พวกเราคือคลื่นระบาดลูกที่สอง’ และที่มาแสดงพลังครั้งนี้เพื่อเรียกร้อง ‘วันแห่งเสรีภาพ’ หลังจากต้องถูกรัฐบาลควบคุมมานานหลายเดือนแล้ว”

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด โควิดไม่ทันหาย ซาลโมเนลลา ระบาดต่อในสหรัฐ
นักวิทย์ฯเยอรมนีเตรียมจัด คอนเสิร์ต ความจุ 4,000 คน เพื่อศึกษาการแพร่ระบาดโควิด19
ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐกังวล วัคซีนต้านโควิด จากจีน-รัสเซีย เตือน อาจไม่ปลอดภัย
การประท้วงครั้งนี้มีเหตุมาจากนายไมเคิล บอลเว็ก นักธุรกิจและนักการเมืองผู้ลงแข่งชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสตุทท์การ์ท ได้ออกมารณรงค์ต่อต้าน และปลุกระดมให้ประชาชนจำนวนมากต่อมาตรการการสวมหน้ากากในที่สาธารณะของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน นักการเมืองเยอรมนีส่วนใหญ่ต่างประณามการกระทำของนายบอลเว็กและกลุ่มผู้ประท้วงที่ออกมาชุมนุม โดยไม่สวมหน้ากากและไม่เว้นระยะห่างทางสังคม โดยตำหนิว่าผู้ชุมนุมไม่มีความรับผิดชอบ ทั้งยังเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและทำลายความสำเร็จในการควบคุมการระบาดครั้งนี้ เช่น ซาสเกีย เอสเคนจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยที่เรียกคนเหล่านี้ว่า Covidiots หรือ คนโง่เขลาที่ไม่เชื่อเรื่องโรคโควิด19

เจนส์ สปาห์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีกล่าวว่า “ก็ใช่ การประท้วงเป็นสิ่งที่ทำได้ในช่วงเวลาโคโรนาไวรัสกำลังระบาด แต่ต้องไม่เป็นเช่นนี้ การเว้นระยะห่าง กฎเรื่องสุขอนามัย และหน้ากากอนามัยมีไว้เพื่อปกป้องพวกเราทุกคน ดังนั้นเราจึงปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ”
ทั้งนี้ เยอรมนีมียอดผู้ติดเชื้อรวมกว่า 200,000 ราย และเสียชีวิตน้อยกว่า 1,000 ราย แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ อย่างไรก็ดี เว็บไชต์ Worldometers ได้รายงานสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ประจำวันที่ 3 ส.ค. 63 โดยพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลกรวมแล้วกว่า 18,226,591 ราย เพิ่มขึ้น 217,893 ราย เสียชีวิต 692,420 ราย เพิ่มขึ้น 4,404 ราย และรักษาหายแล้ว 11,439,255 ราย
บรรยากาศการชุมนุม
ขอบคุณภาพปกและภาพประกอบจาก AFP