ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตอบ 10 ข้อสงสัย โอไมครอน “BA.2” จะอยู่นานไหมและสูญพันธุ์หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตอบ 10 ข้อสงสัยให้ประชาชนเกี่ยวกับ โอไมครอน “BA.2” จะอยู่กับประเทศไทยอีกนานหรือไม่ และจะสูญพันธุ์ไปหรือเปล่า

เมื่อวันที่ 23ก.พ.65 เฟซบุ๊กเพจ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่าน Center for Medical Genomics เพื่อตอบคำถามและคลายข้อสงสัยจากประชาชนที่มีความสงสัยเกี่ยวกับ โอไมครอน “BA.2” ในช่วงเวลานี้ ซึ่งปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23/2/2565 โดยระบุว่า

1. โอไมครอนจะระบาดในประเทศไทยไปอีกนานเท่าไร

จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ “โอไมครอน” พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน โดยแต่ละประเทศจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคนที่ไม่เท่ากัน

อาจเป็นรูปภาพของ ‎ข้อความพูดว่า "‎LINEAR LOG Daily new confirmed COVID-19 cases per million people 7-day rolling verage. testing. number confirmed cases true number 7,000 urWorld 60 days BA.1 BA.2 6,000 1 5,000 4,000 Denmark 3,000 2,000 1,000 Germany ul20,2021 Sep 2,2021 Source: ۔1 Johns HUi Jan28,2020 Nov Nov1,2021 France Kingdom Dec21,2021 Ganada SouthAfrica Feb20 CCBY Feb20,2022‎"‎

2. จะมีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่มาแทนโอไมครอนหรือไม่

มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอนระบาดมาแทนที่โอไมครอนในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า

3. การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อไร

ผอ. องค์การอนามัยโลกแถลงว่าการระบาดใหญ่รุนแรงทั่วโลก (Acute Pandemic) สามารถยุติลงได้ในกลางปี 2565 หากทุกประเทศทั่วโลกทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในแต่ละประเทศได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

4. หากโอไมครอนไม่ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่รุนแรง (mild) ทำไมมีผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน

ผู้ติดเชื้อโอไมครอนมีอาการไม่รุนแรง (milder) เมื่อเทียบกับเดลตา (more severe) แม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่จะมีจำนวนหนึ่ง (0.9%) ที่จะมีอาการรุนแรงเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงขั้นเสียชีวิต

5. มีรายงานข่าวว่าโอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็ว ท้ายที่สุดทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอน ข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ และหากข้อมูลนี้ถูกต้องเราจะต้องปฏิบัติตามมาตรการณ์ป้องกันโรคโควิด-19 ไปเพื่ออะไร

ดร.มาเรีย แวน เคอร์คอฟ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงว่า โอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็วจริง แต่ “ไม่ได้หมายความหรือจำเป็นว่า” ทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอนในที่สุด WHO กำลังพยายามทุกวิถีทางร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการลดโอกาสการติดเชื้อให้กับประชาชนทั่วโลก วัคซีนเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันแต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถติดเชื้อโอไมครอนได้ถึงร้อยละ 55.9 (vaccine breakthrough cases) ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันตัวเองควบคู่กันไปกับการฉีดวัคซีนกล่าวคือทุกคนป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งของหรือผู้อื่น เว้นระยะห่างจากบุคคลที่สอง สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงฝูงชน ทำงานจากที่บ้าน ถ้าทำได้ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK หรือ PCR เป็นประจำสม่ำเสมอ อันเป็นวิธีที่เราสามารถรักษาตัวเองให้ปลอดภัยและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อและแพร่ไวรัสไปให้คนอื่นได้

นอกจากนี้จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ “โอไมครอน” พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นโอไมครอนจึงไม่ได้คงอยู่นานพอที่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อไปทั้งประเทศ หรือทั้งโลก

แต่หากพูดว่าในช่วงชีวิตเรามีโอกาสที่จะติดเชื้อไวโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ดูจะใกล้ความจริงมากกว่า

6. เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่ต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน

WHO แถลงว่าเราต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอนด้วยเหตุผล 4 ประการ

– เราต้องการป้องกันไม่ให้ประชาชนติดเชื้อเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิตได้ในอัตราร้อยละ 0.9

-ผู้ติดเชื้อแล้วหายบางคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลที่ตามมาในระยะยาว ซึ่งเราเรียกว่าภาวะหลังโควิด (long covid) และเรายังไม่เข้าใจกลไกการเกิด “ลองโควิด” ที่จะนำไปสู่การรักษามากนัก

– การติดเชื้อของคนในชาติเป็นจำนวนมากจะเป็นภาระใหญ่ต่อระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

-ยิ่งโอไมครอนมีการแพร่ระบาดระหว่างตนสู่คนเป็นวงกว้าง ยิ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอน และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพื่อสามารถแพร่ระบาดมาแทนที่โอไมครอนได้ ส่วนการก่อโรคโควิด-19 ของสายพันธุ์ใหม่นั้นจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงยังไม่อาจคาดเดาได้

ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องร่วมด้วยช่วยกันลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน

-เหตุใดประเทศเดนมาร์กจึงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "LINEAR LOG Daily new confirmed COVID-19 cases G deaths per million people testing OUniformy-axis Canada New cases per 1M) France Germany India Thailand United Kingdom DurWorld inData UnitedStates Denmark 2 SouthAfrica 3,000 2,000 1,000 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,2020 Aug8, 2020 New deaths (per 1M) 18 16 Nov 2020 Feb24,2021 Jun4,2021 Sep12,2021 Feb20,2022 Mar 2020 Aug 2020 HonsUnive Jan28,2020 2020 ผู้เสียชีวิต Feb24,2021 2021 Jun4,2021 2021 2022 CCBY Feb20,2022"

เดนมาร์กถือเป็นกรณีศึกษา ทั่วโลกจับต่อมองเพื่ออาจนำไปใช้บ้าง มีจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2 เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งที่มีการฉีดวัคซีนสูงถึงร้อยละ 88 ของประชากร ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “เดนมาร์ก” เป็นประเทศแรกในยุโรปที่ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด รวมถึงข้อบังคับการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางกายภาพหลังจากที่หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้มากกว่า 80%

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กประเมินว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงในสังคมอีกต่อไป เพราะแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้เสียชีวิตคงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใดต่อระบบสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะเดนมาร์กมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง ประชากรที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และอีกประมาณร้อยละ 60 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว

8. หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์ก “ตัดสินใจผิดพลาด”หรือไม่ที่ยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน 1 ก.พ. 2565 ทำให้มีทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

หลังจากเดนมาร์กยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จาก BA.2 ก็ทะยานขึ้นและถึงจุดสูงสุด (peak) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 แล้วก็เริ่มลดลงจากนั้นเป็นต้นมา

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "LINEAR LOG Daily new confirmed COVID-19 cases G deaths per million people testing OUniformy-axis Canada New cases per 1M) France Germany India Thailand United Kingdom DurWorld inData UnitedStates Denmark 2 SouthAfrica 3,000 2,000 1,000 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,2020 Aug8, 2020 New deaths (per 1M) 18 16 Nov 2020 Feb24,2021 Jun4,2021 Sep12,2021 Feb20,2022 Mar 2020 Aug 2020 HonsUnive Jan28,2020 2020 ผู้เสียชีวิต Feb24,2021 2021 Jun4,2021 2021 2022 CCBY Feb20,2022"

The State Serum Institute (SSI) ของเดนมาร์กซึ่งเทียบเท่ากับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แถลงว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมในเดนมาร์ก “คงที่ไม่เพิ่มขึ้น”

ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2564 เดนมาร์กมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในผู้สูงอายุมากกว่า 75 ปี อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อ “เดลตา”

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ปี 2022 อัตราการเสียชีวิตในเดนมาร์กลดลงและตอนนี้เข้าใกล้ระดับปกติทั้งที่เดนมาร์กมีการตรวจ PCR ให้ผลบวกเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริง และน้อยกว่าอันตราการเสียชีวิตจากเดลตาในอดีต

9. หากอัตราผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริงทำไมข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” (จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด) ในช่วงที่เดลตาระบาด และโอไมครอนระบาดจึงใกล้เคียงกัน

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "LINEAR LOG Daily new confirmed COVID- cases deaths per million people 7-day rollingaverage. challenges theattributiono U-xs New cases (per 1M) 7,000 6,000 World Denmark 3 3,000 2,000 1,000 BA.1 BA.2 3,2020 Aug ug8,2020 2020 New Newdeaths(per1M) deaths (per Nov Nov16,2020 2020 Feb24,2021 Jun4,2021 2021 Sep12,2021 3- Feb20,2022 Feb20 BA.2 เดลตา Mar3,2020 Aug8 2020 /.1 Mar3,2020 Nov16,2020 Feb24,2021 Jun4,2021 Feb20,2022 2022 Feb20,2022"

ทาง SSI ได้อธิบายว่า ข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” นั้นเป็นข้อมูลรวมการตายสองกลุ่มเข้าด้วยกันคือ (1) ผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆแต่มีผล PCR ต่อเชื้อโควิด-19 เป็นบวก (deaths with) เพราะช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 อย่างกว้างขวาง และ (2) ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 (deaths by COVID) (ภาพ 4)

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ  ตอบ 10 คำถาม โอไมครอนในไทยระบาดอีกนานเท่าไร

หากดูเฉพาะผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนจะพบว่ามีจำนวนลดลงและน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากเดลตา (ภาพ 4)

10. รู้ได้อย่างไรว่าผู้เสียชีวิตคนใด “เสียชีวิต” จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กมีการตรวจสอบว่าผู้ตายได้รับยาต้านไวรัส Remdesivir และ/หรือและ Dexamethasone ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับ COVID-19 ในเดนมาร์ก

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "Figur 6: Antal og andel af nyindlagte behandling med laegemidler, der er indiceret nedre uftvejsinfektion led covid-19 sygdom (opgjort februar 2022) 900 800 700 600 500 400 300 200 100 70% 5 60% 50% 40% 30% 20% แถบบาร์ีน้ำเงินเข้มือจำนวนผู้ป่วย ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เพิ่งเข้ารับ การรักษาใน รพ. ที่ได้รับยาต้านไวรัส Remdesivir และ/หรือและ Dexamethasoneซึ่งเป็นการรักษา ซึ่งเป็นการรักษา มาตรฐานสำหรับ COVID-19 10% 0% 4714 2020 2021 2022 indlagte ikke behandling for covid- 19 luftvejsinfektion Indlagte behandling nedre uftvejsinfektion Andel covid- 19 nedre luftvejsinfektion (hojre akse) เส้นกราฟโด้งสีเขียวคือสัดส่วนของ ผู้ป่วยที่ผล PCR เป็นบวกต่อ SARS- CoV-2 ที่รับการรักษาโรคโควิด-19"

ข่าวที่น่าสนใจ

ครม. ไฟเขียว! ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า CBU และนำเข้าทั่วไป ปี 65 – 66

แนะ สธ. ทบทวน! ครม.ลั่น ป่วยโควิดรักษาฉุกเฉิน ยังไม่เริ่มรักษาตามสิทธิ์ 1 มี.ค.65

สายแทบไหม้! สปสช. พบ มีคนโทรเข้า สายด่วน 1330 สูงสุด 49,005 สาย หลังโควิดกลับมาระบาดหนัก

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ฟังเหตุผล การ์ดหมัดหนักซัดฝรั่งกร่างท้าต่อยตัวต่อตัว

การ์ดพูดแล้วทนแรงยั่วยุไม่ไหว เดินเข้าไปซัดหมัดเดียวฝรั่งกร่างท้าต่อย ร่วงลงไปกองกับพื้นก่อนถูกรุมยำเละกลางพัทยา

สรุปมหากาพย์รัก 4 เศร้า! “โตโน่-ณิชา-เพชร-มายด์” หลังออกรายการโหนกระแส

สรุปดราม่า “โตโน่-ณิชา-มายด์-เพชร” ระอุไม่หยุด! เปิดใจ “เพชร” ยาวเป็นฉาก ชี้สัมพันธ์พังเพราะความไม่ชัดเจนของคนกลาง – มายด์เตรียมเปิดปากพรุ่งนี้ ดราม่า […]

ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันพุธ 16 เมษายน 2568

ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันพุธที่ 16 เมษายน 2568 รางวัลที่ 1 (266227) เลขท้าย 2 ตัว 85 เลขท้าย 3 ตัว 474-760 เลขหน้า 3 ตัว 413-254

โตโน่ ว่าไง?? “เพชร แฟนมายด์” ลั่น! กล้าทำก็กล้ารับ ทำไมพี่ต้องหนีผมด้วย

ดราม่าเดือด! “เพชร” แฟนมายด์ สาวที่ถูกโยงมือที่สามโตโน่ เปิดใจกลางโหนกระแส – ซัดแรง พูดถึงโตโน่ “ทำไมพี่ไม่กล้าเคลียร์กับผมตั้งแต่วันแรก และทำไมพี่ก็ไ […]

ผู้จัดการ โตโน่ ภาคิน ชี้แจงแล้ว ปมรักร้อน “โตโน่-ณิชา-มายด์”

ปมรักร้อน! “โตโน่-ณิชา” ยังไร้คำตอบ หลังลือแรง “นักร้องท่าเยอะ” ซุ่มคบผู้ช่วยผู้จัดการส่วนตัว ด้าน “คุณเมย์” ผู้จัดการ โตโน่ ออกมาชี้แจงกั […]

ฝนถล่ม 5 วันติด ดินสไลด์ทับนทท.หน้าผาเหวนรก

หน้าผาเหวนรก อุทยานฯเขาใหญ่ ดินสไลด์ทับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ยืนยันไม่ใช่เหตุการณ์หน้าผาพังถล่ม
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า