วันที่ 14 พ.ย. 63 โบว์ ณัฏฐา หรือนางสาวณัฏฐา มหัทธนา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ชวนจับตาการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 1 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า
วันอังคารหน้าจะเป็นวันสำคัญที่เราจะได้เห็นว่า รัฐสภาจะนำประเทศสู่ทางตันหรือทางออก และก้าวต่อไปจะดำเนินไปอย่างไร ภาพประกอบภาพแรกคือ วาระการประชุมเพื่อพิจารณารับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นรวม 7 ญัตติ ส่วนภาพที่สองเป็นภาพที่ไอลอว์จัดทำขึ้นเพื่อให้เห็นรายละเอียดสำคัญของข้อเสนอทั้ง 7 ร่าง
ย้ำชัด! เพื่อไทย แสดงจุดยืนไม่ร่วม รัฐบาลแห่งชาติ ยัน แก้รัฐธรรมนูญ – ปากท้องปชช.
โฆษกเพื่อไทย ดักคอรัฐบาล เตะถ่วง แก้ไขรัฐธรรมนูญ จี้ หยุดอำนาจแทรกแซง ส.ว.
สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ทั้ง 7 ร่างมีรายละเอียดกว้างๆดังนี้
1 ญัตติจากพท.และ 4 พรรคฝ่ายค้าน ตั้ง สสร.จากการเลือกตั้ง
1 ญัตติจากพรรคร่วมรัฐบาล ตั้ง สสร.สูตรผสม
4 ญัตติจากพรรคฝ่ายค้านครบทุกพรรค มีเรื่องตัดอำนาจสว. เลือกตั้งบัตรสองใบ ยกเลิกการรับรองอำนาจและนิรโทษกรรมคสช. ยกเลิกช่องทางนายกคนนอก แก้ไขหลักเกณฑ์แก้รธน.
1 ญัตติจากไอลอว์ ซึ่งมีประเด็นแก้ไขหลักๆรวม 10 ประเด็น
ถอดรหัส 4 ปี บิ๊กป้อม แบไต๋ แก้รัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ไม่ยุบ | ขยี้ข่าว by จาม
แน่นอนว่าดูตามรูปการณ์ ร่างที่น่าจะผ่านวาระรับหลักการซึ่งเป็นด่านแรกได้ง่ายที่สุดคือร่างของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเรื่องการเสนอตั้ง สสร. เพราะอยู่บนหลักการเดียวกันคือการคืนอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชน ส่วนร่างย่อยๆจากฝ่ายค้านนั้น ญัตติที่ได้รับการตอบรับจากสว.บางส่วนคือญัตติที่เกี่ยวกับการตัดอำนาจสว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ส่วนญัตติที่ประเมินกันว่ามีความยากที่สุดที่จะผ่านได้คือญัตติที่เสนอโดยไอลอว์จากการรวมรวมกว่าแสนรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย เนื่องจากมีการมัดรวมไว้ถึง 10 ประเด็น จึงถูกมองว่ายากมากที่จะผ่านไปทั้งก้อน
แต่ความพิเศษที่ญัตติของไอลอว์มีเหนือสองญัตติแรก คือการไม่มีเงื่อนไขปิดทางการแก้ไขหมวด 1-2 โดยสสร. นั่นหมายความว่าจะไม่มีข้อจำกัดในการที่ประเด็น “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” จะถูกพูดถึงในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ประเด็นหลักในสังคมจะได้มีพื้นที่ที่เป็นทางการและปลอดภัยกว่าการปล่อยให้ถูกขยายความในพื้นที่ชุมนุมของทั้งสองฝ่ายแต่เพียงอย่างเดียว สุ่มเสี่ยงต่อการที่ผู้ไม่หวังดีที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มต่างๆจะหาโอกาสปลุกปั่นความเกลียดชังด้วยความตั้งใจนำสู่ความรุนแรงด้วยความที่สังคมยังรู้สึกว่าเรื่องนี้ยังตกอยู่ในสถานะ “แตะไม่ได้”
ดังนั้นหากสมาชิกรัฐสภาจะเห็นตัวเองเป็นลูกกุญแจสู่ทางออก ไม่ใช่แม่กุญแจแห่งทางตัน ก็ควรตัดสินใจปิดโอกาสของความขัดแย้งที่จะบานปลาย และเปิดทางสู่การคลี่คลายปัญหาด้วยการผ่านญัตติดังกล่าวในวันที่ 17 พ.ย.นี้ เพื่อการพิจารณาตามกลไกรัฐสภาต่อไป
อยากให้ฟังความเห็นเพิ่มเติม โดยเฉพาะส่วนของอดีตนายกอภิสิทธิ์ คุณหญิงสุดารัตน์ และสว.คำรณ รวมถึงคำตอบของคุณอภิสิทธิ์ต่อข้อกังวลของคุณคำรณ ซึ่งเป็นประโยชน์มากจากการเสวนาโต๊ะกลมของสภาที่สามเมื่อวาน นาทีที่ 35 เป็นต้นไป ตามคลิปนี้ค่ะ https://www.facebook.com/CPDThai/videos/2836444409960772/

