ชัชชาติ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. เผยข้อเท็จจริงกรณีคำถามทีมงานชัชชาติ ไม่ส่ง ส.ก. ลงเลือกตั้ง จะมารถทำงานร่วมกับผู้ว่าฯกทม. ได้หรือไม่
ความเคลื่อนไหวการ เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่ตามกำหนดเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นั้น
โดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. หมายเลข 8 ในนามอิสระ ได้ตอบคำถามประชานชน ชาวกทม. กรณี ไม่ส่งทีมสมาชิกสภา ไม่ส่งทีมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ลงเลือกตั้งด้วยแล้วจะทำงานได้อย่างไร
จากประเด็นดังกล่าว นายชัชชาติ ได้อธิบายผ่านเฟซบุ๊กข้อเท็จจริง ประเด็นนี้ โดยระบุว่า มีผู้ตั้งคำถามกับเรามาตลอดว่า ชัชชาติ ไม่ส่งทีมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ลงเลือกตั้งด้วยแล้วจะทำงานได้อย่างไร
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ส.ก. ของทีมเพื่อนชัชชาติ ที่เราคิดมาตลอด มีดังนี้

- เลือก ส.ก. กับ เลือกผู้ว่าฯ แยกกันครับ ไม่เหมือนการเลือก สส. เข้าสภาผู้แทนไปตั้งนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมาหลายครั้ง วาระเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กับ ส.ก. ก็ไม่ตรงกัน ก็ยังสามารถทำงานต่อเนื่องกันได้
- ส.ก. ไม่เหมือน ส.ส. ไม่มีฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อกรุงเทพฯ
- ส.ก. ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือถอดถอนผู้ว่าฯ ได้ หน้าที่หลักคือ ออกข้อบัญญัติ และพิจารณางบประมาณ ซึ่งต้องมีการหารือความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตอยู่แล้ว
- ถึงแม้ผู้ว่าฯ จะส่ง ส.ก. ก็ไม่มีอะไรรับรองว่าจะได้เสียงเกินครึ่ง ดังนั้น ผู้ว่าต้องทำงานร่วมกับ ส.ก. ทุกคนให้ได้
- การเป็นอิสระ ทำให้ประสานงานกับ ส.ก. ทุกพรรคได้ง่าย
- ที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ หลายท่านที่ลงอิสระ หรือไม่ได้มี ส.ก. เป็นเสียงข้างมากในสภา กทม. ก็ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น ท่านพิจิตต รัตตกุล ท่านสมัคร สุนทรเวช
- ในต่างประเทศ ผู้ว่าฯ เมืองใหญ่ๆหลายเมือง เช่น Michael Bloomberg ของ New York เคอเหวินเจ๋อ ของมหานครไทเป หรือ ยูริโกะ โคอิเคะ ของมหานครโตเกียว ก็เป็นผู้ว่าฯ อิสระ
- การไม่สังกัดพรรค ทำให้ประสานงานกับรัฐบาลได้ทุกรัฐบาล ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นพรรคเดียวกันหรือไม่
- เราเชื่อมั่นว่า ส.ก. ที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน จะทำงานร่วมกับ ผู้ว่าฯ โดยเห็นแก่ประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก มากกว่าผลประโยชน์ของพรรคหรือกลุ่มการเมือง

เราพร้อมที่จะทำงานกับ ส.ก. ที่ประชาชนเลือกมา ทุกพรรค เพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกเขต คงต้องถามว่า ส.ก. พร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ว่าฯ กทม. ที่ไม่ได้อยู่พรรคตัวเองหรือไม่
สำหรับ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ประชาชนที่สามารถใช้สิทธิลงคะแนน ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือเกิดก่อนวันที่ 24 พ.ค.2547
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง (สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก่อนวันที่ 23 พ.ค.2564 และผู้มีสิทธิเลือกตั้งส.ก.ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตพื้นที่ ก่อนวันที่ 23 พ.ค.2564)

โดย กทม.แนะช่องทางตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. – สก. จากหนังสือที่สำนักงานเขตส่งให้หรือคลิกที่ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/
สำหรับ การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.65 เวลา 08.00-17.00 น. และกรณีหากไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนและหลังวันเลือกตั้ง 7 วันคือ ก่อนวันเลือกตั้งระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค.65 และหลังวันเลือกตั้งระหว่างวันที่ 23-29 พ.ค.65
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม
เสียงสะท้อนประชาชน! เพชร กรุณพล ชี้เหตุ วิโรจน์ ลุ้นพลิกชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.
พุทธอิสระ แนะใช้สติปัญญา เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ลั่นอยู่มานานรู้ว่าใครของจริง
จบ ดร.จริงหรือไม่ ศรีสุวรรณ จี้สอบผู้สมัคร ส.ก.เพื่อไทย ก่อนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.