5 เรื่องน่ารู้ วันรัฐธรรมนูญ ประเทศไทย ฉบับปัจจุบันจำนวน 279 มาตรา จัดทำร่างขึ้นโดย กรธ. ที่แต่งตั้งจาก คสช.
10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) รวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันรัฐธรรมนูญ เพื่อระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

5 เรื่องน่ารู้ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
1 ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งหมด 20 ฉบับ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 279 มาตรา
จัดทำร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐประหารที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. ในขณะนั้น ก่อนประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560
2 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
3 สถานที่เก็บรัฐธรรมนูญ มี 3 แห่ง ได้แก่ รัฐสภา ใต้มหาเศวตฉัตร ณ พระบรมมหาราชวัง และทำเนียบรัฐบาล
4 รัฐธรรมนูญที่มีอายุยาวนานที่สุด คือ ฉบับที่ 2 ปี 2475 ได้ใช้งาน 13 ปี 5 เดือน ประกาศใช้ 10 ธันวาคม 2475 สิ้นสุดเมื่อ 9 พฤษภาคม ปี 2489
5 รัฐธรรมนูญ ยุคเริ่มต้น เนื้อหาสาระมีเพียงแค่ 39 มาตรา (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบไปด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 279 มาตรา)
มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
มาตรา 2 ให้มีประธานและคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
5.1 กษัตริย์
5.2 สภาผู้แทนราษฎร
5.3 คณะกรรมการราษฎร
5.4 ศาล
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก IamLazy IamveryLazy