วราวุธ รมว.พม ทดลองเป็นผู้พิการ นั่งรถเข็นวีลแชร์ ปิดตาเดินโดยใช้ไม้เท้า พื้นที่กลางกรุง รับรู้ความรู้สึกคนพิการ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงการลงพื้นที่เมื่อวันที่ (31 ต.ค. 66) ลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ด้วยการ ทดลองเป็นผู้พิการ นั่งรถเข็นวีลแชร์ จากบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน แล้วขึ้นลิฟต์คนพิการ เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้า BTS จากสถานีสยาม ไปยังสถานีชิดลม และปิดตาเดินโดยใช้ไม้เท้าแบบคนตาบอดไปยังด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ “เพื่อรับรู้ความรู้สึกของคนพิการ” โดยมีนายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวง พม. นางสาวสนธยา บุณยภูสิต รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล และนายเอกกมล แพทยานันท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย รวมทั้งเครือข่ายฑูตอารยสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมสิทธิผู้พิการ-มนุษย์ล้อ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ร่วมลงพื้นที่

ซึ่ง ทางลาด และความเรียบของถนนที่ใช้เดิน ใช้สัญจร ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญอย่างมากสำหรับผู้พิการ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุสำหรับคนพิการได้ โดยทุกกรมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะต้องช่วยกันเพื่อให้การใช้ชีวิตของคนพิการมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนพิการไม่ใช่คนด้อยโอกาส สำหรับการลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในใจกลางกรุงเทพมหานครแล้ว ต่อไปจะมีการลงพื้นที่สำรวจต่างจังหวัดด้วย โดยจะเริ่มที่จังหวัดราชบุรีก่อน เพื่อไปสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวว่ามีการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการมากน้อยเพียงใด
- อ้วกแทบพุ่ง โรงแรม 5 ดาว เสิร์ฟน้ำเปล่ากลิ่นคาว รู้ความจริงพบ อสุจิ
- สลด! ช้างป่าเขาอ่างฤาไน ทำร้าย จทน.ดับ ขณะปฏิบัติหน้าที่
- ระทึก! เกิดเหตุชายคนหนึ่ง พกอาวุธ เข้าลั่นไก ในรพ. ใกล้กรุงโตเกียว
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ (28 ต.ค. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พร้อมด้วย นายกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล และพิธีกรรายการกฤษนะทัวร์ยกล้อ โดยมี นายสุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล ร่วมลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ โดย นายชัชชาติ ได้ทดลองนั่งรถเข็นผู้พิการลงพื้นที่สำรวจฟุตปาธในเขตบางนา บริเวณถนนลาซาล-บางนา ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าไม่สามารถนำรถเข็นขึ้นขอบฟุตปาธอีกฝั่งหนึ่งได้ จึงต้องเบี่ยงมาสัญจรบนถนนแทน นอกจากนี้ ในบางช่วง นายชัชชาติยังติดร่องปูนของถนน จนต้องกระดกล้อเพื่อให้ข้ามพ้นรอยร้าว กระทั่งผู้ร่วมคณะรายหนึ่งกล่าวว่า “อย่าว่าแต่ 2 ล้อ มอเตอร์ไซค์ก็เหนื่อย”

ทั้งนี้ อย่างที่ใครหลายคนรู้กันดีว่า ทางเท้าในเมืองไม่ว่าจะเป็นในเขตกรุงเทพฯ หรือเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ ต่างพบปัญหาเรื่องทางเท้าที่ไม่เอื้ออำนวยความสะดวยแก่ผู้พิการ ยิ่งไปกว่านั้น ในเขตกรุงเทพฯ จะพบได้อย่างชัดเจนว่า พื้นทางเท้าไม่ได้เรียบเนียนอย่างที่คิด ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถเข็นวีลแชร์ ที่ไม่สามารถเข็นผ่านไปได้ บางที่ยังมีสิ่งก่อสร้างขวางเส้นทาง ซึ่งอุปสรรคนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงผู้พิการทางสายตา ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความอันตรายต่อชีวิตได้
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY