เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 7 องค์กรนิสิต นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จาก 7 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, องค์กรนิสิตรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ชมรมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และชุมนุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกแถลงการณ์ร่วม แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อถ้อยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการกระทำของกลุ่มแกนนำม็อบราษฎรทั้ง 3 คนได้แก่ ทนายอานนท์ ไมค์ ภาณุพงศ์ และรุ้ง ปนัสนยาจากการชุมนุม #ม็อบธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยศาลรัฐธรรมนุญวินิจฉัยว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ข้อ เป็นการล้มล้างการปกครองและสั่งการให้ผู้ร้องทั้ง 3 คน และเครือข่ายยกเลิกการกระทำดังกล่าว โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.วินิจฉัย อานนท์-รุ้ง-ไมค์ เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ สั่งเลิกการกระทำดังกล่าว
สถาบันตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญ มีภาระหน้าที่อันใหญ่หลวงที่จะต้องปฏิบัติพันธกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งบรรทัดฐานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่คำวินิจฉัยของพวกท่านในครั้งนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าที่ผ่านมาการใช้อำนาจตุลาการนั้นมิได้กระทำเพื่อประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
สถาบันตุลาการใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือเสมือนเครื่องมือในการบ่อนทำลายหลักนิติธรรมและความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญเสียเอง มิได้พิทักษ์ หรือปฏิบัติพันธกิจตามที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญและกระบวนการยุติธรรมทำให้ประชาชนหมดสิ้นซึ่งศรัทธา อีกทั้งยังเล็งเห็นได้ว่าสถาบันตุลาการนั้นมิได้มีความศักดิ์สิทธิ์ หาได้กระทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติและชาวประชาไม่
ในฐานะองค์กรภายใต้สถาบันการศึกษาและนักศึกษาผู้ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในสังคมการเมืองไทย ขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อถ้อยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และขอยืนหยัดว่าข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้ง 10 ข้อนั้น มิได้เป็นการล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด หากแต่กระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติในการปฏิรูปให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐอันมีเกียรติ ธำรงไว้ซึ่งความดีงามในการปกครองรัฐภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ในมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2560
เยาวชนปลดแอก ออกแถลง ไม่รับคำวินิจฉัยศาลรธน. ล้มล้างการปกครอง ยันปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง
ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องในการปราศรัยของแกนนำทั้ง 3 คนเป็นสิ่งที่สามารถพึงกระทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญและยังคงอยู่ภายใต้ขอบเขตของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด เพราะการเรียกร้องให้ดีขึ้นหรือต้องการปรับปรุง มิใช่เจตนาที่หวังบ่อนทำลายหรือล้มล้างแต่อย่างใด
แต่การก่อการรัฐประหาร ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และการกระทำซึ่งตัดทอนประชาธิปไตยต่างหากที่เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองและบั่นทอนการลงหลักปักฐานของระบอบการเมืองการปกครองอย่างชัดเจน
พิธา ชี้คำวินิจฉัยศาล “ล้มล้างการปกครอง” จะขีดเส้นทางที่สุ่มเสี่ยงและคับแคบให้สังคมไทย

