นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อหวั่งกระตุ้นเศรษฐกิจ จุรินทร์ ปชป. ชี้ รัฐบาลกลืนน้ำลายตัวเอง สร้างภาระหนี้ให้กับประเทศและประชาชน
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 กรณี นโยบายแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ของรัฐบาลเพื่อไทย กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ซึ่งมีทั้งผู้คนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ล่าสุด นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า นอกจากนโยบายดังกล่าวจะแจกไม่ตรงปกแล้ว นายกรัฐมนตี ยังเคยยืนยันแบบแข็งขันมาตลอดว่าจะ “ไม่กู้” แต่สุดท้ายพอมาถึงวันนี้ก็กลับลำ “มากู้” ถึงขั้นเตรียมออก พ.ร.บ.เงินกู้ อีกด้วย แบบนี้ กลายเป็นกลืนน้ำลายตัวเอง แถมยังจะเป็น “ภาระหนี้ให้กับประเทศ” และ “ประชาชน” ต่อไปในอนาคตอีกถึง 5 แสนล้านบาท เพื่อสนองนโยบายหาเสียง

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมองว่า ก็เหมือนกันกับเรื่องที่ออกมาตอกย้ำหลายรอบว่า เรื่องที่จะฟื้นฟู “หลักนิติธรรม” ที่เข้มแข็ง ถ้ารัฐบาลไม่กลืนน้ำลายตัวเองก็คงไม่เกิดนักโทษ 2 มาตรฐานขึ้นมา ตนจึงขอเตือนรํบบาลให้ระวัง เพราะนี่คือ จุดเริ่มต้นของการเดินไปสู่การล้มละลายทางความน่าเชื่อถือของรัฐบาล เพราะเมื่อพูดอะไรออกไป ต่อไปก็จะไม่มีใครเชื่อในคำพูดอีก ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท จะผิดกฎหมายหรือไม่นั้น ส่วนตัวมองว่าถ้าเกิดผิดกฎหมายขึ้นมาจริง รัฐบาลจะมาอ้างเป็นเหตุโทษคนอื่นไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่รัฐบาลที่จะต้องหาช่องทางอื่นที่ถูกต้องและถูกกฎหมาย มาถึงวันนี้ “นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต” กำลังกลายเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับพรรคการเมือง ที่มุ่งแต่จะหาเสียงแบบประชานิยม
- อดิศร เพื่อไทย ทัวร์ลง! หลังถาม ศิริกัญญา จะลาออกไหม ถ้า เงินดิจิทัล สำเร็จ
- ขุดยับ! กลอนเพื่อไทย แซะ ลุงตู่นักกู้เงิน ชาวเน็ตแซว ตัดภาพมาปัจจุบัน
- สว.สมชาย รู้ทัน แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ หวังยืมมือสภาศาลคว่ำ
จากประเด็นข้างต้นสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ (10 พ.ย. 66) รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงกรณีนโยบายแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ว่า นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล คือการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยหมุนเวียนภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยการอัดฉีดครั้งแรกมีระยะเวลา 6 เดือนเพื่อให้เงินมีการหมุนเวียน และสามารถใช้จับจ่ายต่อได้จนถึงเดือนเมษายนปี 2570 เป็นการลงทุนที่มอบสิทธิและอำนาจให้กับประชาชนช่วยกันกอบกู้เศรษฐกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในภาคประชาชน ทั้งการรวมเงินในครัวเรือนเพื่อประกอบอาชีพ การซื้อ-ขายสินค้าของพ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงการสั่งผลิตสินค้าในโรงงาน SME ไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่

สำหรับรายละเอียดที่มาของงบประมาณโครงการนั้น คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดในการดำเนินนโยบายนี้ คือการออก พ.ร.บ.เป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท ซึ่งมีความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภา ซึ่งมั่นใจว่า จะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา และเป็นไปตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พ.ร.บ.การกู้เงินดังกล่าวจะระบุวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ระยะเวลาในการกู้เงิน แผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ วงเงินที่อนุญาตให้ใช้จ่ายเงินกู้ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการ Digital Wallet ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และรัฐบาลจะทำการกู้เงิน ก็ต่อเมื่อมีการนำเงินไปใช้และนำมาขึ้นเป็นเงินสด ซึ่งนี่จะเป็นการทำให้เงินในระบบทั้งหมดใหญ่ขึ้นกว่า 500,000 ล้าน ซึ่งจะหมุนเวียนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยยะ ผสมกับงบประมาณ 100,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวไปทั้งหมด ทุกท่านไม่ต้องห่วงเรื่องของการใช้เงินคืน รัฐบาลจะมีแผนจัดสรรเงินงบประมาณมาเพื่อจ่ายคืนเงินส่วนที่เป็นเงินกู้ตลอดระยะเวลา 4 ปี
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY