ทวี รมว.ยุติธรรม ชี้ ทักษิณอยู่นอกคุกเกิน 120 วัน โยน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยังไม่เสนอรายงานความเห็นแพทย์ เรื่องการนอนพักรักษาตัว
วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ความคืบหน้ากรณี ทักษิณอยู่นอกคุกเกิน 120 วัน ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ถ.วิภาวดีรังสิต พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับรายงานความเห็นแพทย์ เรื่องการนอนพักรักษาตัวภายนอกเรือนจำของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เนื่องจากตามกฎระเบียบ ได้ระบุชัดเจนว่าต้องเป็นการนอนพักรักษาตัวเกินกว่า 120 วัน

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า “อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้มีการเสนอขึ้นมายังผม ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้รับทราบ” ก่อนจะตัดบทการให้สัมภาษณ์ โดยระบุว่า “ตนเองมีประชุมคณะรัฐมนตรี” และก้าวขึ้นรถยนต์ส่วนตัวออกไปทันที ซึ่งประเด็นของ นช.ทักษิณ นับว่าเป็นที่จับตามองของสังคม เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นถึง อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย
- สรุปข่าวน้ำท่วม กรมอุตุฯเตือน ภาคใต้ฝนกระหน่ำ เศรษฐา จ่อบินด่วน
- มอบตัวสู้คดี ผู้ต้องหา คดีจ้างวานฆ่า ทนายมานพ อดีตสส.ไทยรักษาชาติ
- แก้ปัญหาน้ำมันไม่เต็มลิตร มติประชุม ชี้ จ่ายเกินได้ แต่จ่ายขาด 1% ไม่ได้
โดย ก่อนหน้านี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวว่า กรณี นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ถือว่าเข้าเกณฑ์ เท่าที่ดูคือมีโทษไม่เกิน 4 ปี และไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในข่ายสิ่งที่น่ากลัวของสังคม แต่เป็นโทษที่ไม่ได้เป็นภัยต่อสังคม จึงอยู่ในที่คุมขังได้ และเป็นโทษที่มีจำนวนน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่อยู่ในกรอบสากล ฉะนั้น การจำแนกผู้ต้องขัง และมีที่คุมขังนอกเรือนจำนั้น เป็นการดำเนินการตามหลักสากล และกฎหมายนี้ก็อนุญาตให้ดำเนินการในลักษณะนี้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการอย่างครบถ้วน ตามเกณฑ์

ทั้งนี้ การบริหารโทษทางอาญามี 5 ประเภท แต่กรมราชทัณฑ์มี 2 ประเภท คือประหารชีวิต และการจำคุก ซึ่งการจำคุกนี้ ไม่ได้สงวนไว้แค่ในเรือนจำเท่านั้น ขณะนี้เท่าที่ทราบในการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่อย่างไม่เป็นทางการ มีกลุ่มคนที่มีโทษน้อยกว่า 4 ปี จำนวน 10,000 กว่าคน ส่วนการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของนายทักษิณ ที่จะครบ 120 วันนั้น อยู่ในความเห็นของแพทย์ และอำนาจของกระทรวงยุติธรรม