สรุปชัด! 5 วัคซีน โควิด-19 ที่ประเทศไทยนำเข้า และผ่านการ ขึ้นทะเบียน อย. เรียบร้อยแล้ว และอีก 2 วัคซีน กำลังดำเนินการอยู่
นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกนั้น จำนวนผู้ติดเชื้อในบางประเทศพึ่งสูงขึ้นในระลอกใหม่ บางประเทศผู้ติดเชื้อพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้งโลกให้ความสำคัญ ทั้งนี้หลายบริษัททั่วโลกต่างเดินหน้าผลิตวัคซีนเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันอีกทางหนึ่ง ซึ่งวัคซีนแต่ละตัวต่างมีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน
โดยประเทศไทยมีแผนการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 จากหลายประเทศ แค่ที่ผ่านการรับรอง และขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานกรรมการอาหารและยา (อย.) และนั้น มีอยู่ 5 ตัว นั้นก็คือ วัคซีน AstraZeneca วัคซีน CoronaVac วัคซีน Johnson & Johnson และ วัคซีน Moderna โดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด และล่าสุดวัคซีนน้องใหม่คือ ซิโนฟาร์ม ที่นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด

1. วัคซีน AstraZeneca จากประเทศอังกฤษ
นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัดประสิทธิภาพ : 76%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 8-12 สัปดาห์
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ บางกรณีมีการปวดและระคายเคืองบริเวณที่ฉีด
” วัคซีน AstraZeneca ประเทศไทยนำเข้าเพื่อเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักที่ใช้ในประเทศ โดยทางแผนการจัดสรรวัคซีนของทางรัฐบาลนั้น วัคซีนตัวนี้จะนำไปฉีดให้กลุ่มสูงสูงอายุ และ กลุ่ม 7 โรคเสี่ยง ที่ได้ลงทะเบียนผ่านไลน์ หมอพร้อม ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา “
อ่านเพิ่มเติม

2. วัคซีน Sinovac จาก ประเทศจีน
เป็นวัคซีนจากบริษัท ซิโนแวค นำเข้าโดย องค์การเภสัชกรรม
ประสิทธิภาพ : 50.38%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : มีไข้เล็กน้อย ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่จะคงอยู่ชั่วคราว
” วัคซีน Sinovac ประเทศไทยนำเข้าเพื่อเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักที่ใช้ในประเทศ โดยทางแผนการจัดสรรวัคซีนของทางรัฐบาลนั้น วัคซีนตัวนี้จะนำไปฉีดให้ ประชาชนทั่วไทย อายุ 18-59 ปี ศึ่งเริ่มให้เปิดลงทะเบียนไปตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ในหลากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ไทยร่วมใจ แอปเป๋าตัง ร้านค้าต่างๆทั่วกทม. อีกทั้งวัคซีนตัวนี้ ประเทศไทยยังได้รับบริจาคจากประเทศจีนอีกด้วย ทั้งนี้วัคซีนจากบริษัทลูกอย่าง ตอนนี้เอกสารครบเรียบร้อยแล้ว รอการขึ้นทะเบียนคาดว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้
อ่านเพิ่มเติม

3. วัคซีน Johnson & Johnson จาก สหรัฐอเมริกา
นำเข้าโดย บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 66% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 85%
จำนวนโดส : 1 โดส
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวม แดง ระคายเคือง บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้

4. วัคซีน Moderna จาก สหรัฐอเมริกา
นำเข้าโดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 94.1% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 100%
จำนวนโดส : ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ไข้ โดยเป็นผลข้างเคียงทั่วไป กินเวลาประมาณ 2-3 วัน
” วัคซีน Moderna เป็นวัคซีนตัวล่าสุดที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับทางอย. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนทางเลือกที่ทางโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เปิดการสำรวจวัคซีนตัวนี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก และในหลายโรงพยาบาลได้ปิดการสำรวจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ทางค่าบริการฉีดวัคซีนทางเลือกตันนี้ กับทางโรงพยาบาลเอกชน คาดว่า ราคาไม่เกิน 2000 บาท ต่อเข็ม และ ค่าบริการ 2 เข็ม ไม่เกิน 4000 บาท ซึ่งในราคานี้ยังไม่รวมประกันวัคซีน
อ่านข่าวเพิ่มเติม

5. วัคซีน Sinopharm จากประเทศจีน
ผลิตโดย สถาบันชีวะวัตถุ แห่งกรุงปีกกิ่ง ในประเทศจีน และ นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
ประสิทธิภาพ : ประสิทธิภาพโดยรวม 79% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 100%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกันประมาณ 21-28 วัน
ช่วงอายุ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาจเกิดอาการ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด
” วันซีนซินโนฟาร์ม เป็นวัคซีนตัวล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับอย. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ทำให้ประเทศไทยมีวัคซีนที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้วทังหมด 5 ตัว “
อ่านเพิ่มเติม

ทั้งนี้ยังมีวัคซีนอีก 2 ตัวที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ วัคซีน สปุตนิก วี นำเข้าโดย บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด และ วัคซีน covaxin เข้านำโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด หากมีข้อมูลคืบหน้าเกี่ยวกับ 2 วัคซีนนี้ ทางเราจะนำมาอัปเดตในครั้งต่อไป
สามารถติดตามข่าวสาร และ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV