เล่าข่าวข้น — เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 เฟซบุ๊ก จริยธรรมสื่อมวลชน ของสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ Fake News ในรายการ เล่าข่าวข้น โดยระบุว่า
“ตามที่มีผู้ร้องเรียนผู้ดำเนินรายการ ‘เล่าข่าวข้น’ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้เผยแพร่คลิปที่อ้างว่าฝ่ายยูเครนจัดฉากศพพลเรือนผู้เสียชีวิตนับร้อยศพจากการถูกทหารรัสเซียรุกราน โดยสรุปว่าเป็น ‘ข่าวลวง’ (fake news) แต่ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องเรียนสืบค้น เป็นคลิปการแสดงเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้องให้สังคมโลกสนใจวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครนเล่าข่าวข้นเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 เฟซบุ๊ก จริยธรรมสื่อมวลชน ของสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ Fake News ในรายการ เล่าข่าวข้น โดยระบุว่า “ตามที่มีผู้ร้องเรียนผู้ดำเนินรายการ ‘เล่าข่าวข้น’ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้เผยแพร่คลิปที่อ้างว่าฝ่ายยูเครนจัดฉากศพพลเรือนผู้เสียชีวิตนับร้อยศพจากการถูกทหารรัสเซียรุกราน โดยสรุปว่าเป็น ‘ข่าวลวง’ (fake news) แต่ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องเรียนสืบค้น เป็นคลิปการแสดงเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้องให้สังคมโลกสนใจวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครน
ผู้ร้องเรียนได้หยิบยกข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่สื่อมวลชนพึงปฏิบัติ คือ ข้อ ๕ “สื่อมวลชนต้องตรวจสอบและไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระของข่าวจนคลาดเคลื่อน หรือเกินจากข้อเท็จจริง” ข้อ ๖ “สื่อมวลชนต้องละเว้นการเสนอข่าวด้วยความลำเอียงหรือมีอคติเป็นเหตุให้ข่าวนั้นบิดเบือน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลในข่าวและความเข้าใจผิดในสังคม” และข้อ ๗ “สื่อมวลชนต้องไม่นำเสนอหัวข้อข่าว พาดหัวข่าว ความนำ และภาพประกอบจนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากสาระสำคัญของข่าว” พร้อมกับเรียกร้องให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนตรวจสอบ
จากการตรวจสอบ พบว่า ผู้ดำเนินรายการ ‘เล่าข่าวข้น’ ได้นำคลิปจากสื่อสังคมมาเผยแพร่ต่อ โดยอาศัยความน่าเชื่อถือของผู้เผยแพร่ แต่เมื่อทราบว่าเป็นคนละเหตุการณ์ จึงได้กล่าวขอโทษผู้ชมในรายการเดียวกันในวันต่อมา อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน ฯ ข้อ ๒๓ “สื่อมวลชนต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อผิดพลาดอันเกิดจากการเสนอข่าวโดยไม่ชักช้า หากข้อผิดพลาดนั้นส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบุคคลหรือองค์กร ให้ดำเนินการขออภัยพร้อมกันไปด้วย”
ขณะเดียวกัน ผู้บริหารของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ แจ้งว่า ได้ดำเนินการตักเตือนผู้ดำเนินรายการทั้งสองคน ให้ทำการแก้ไขและขอโทษในรายการในวันต่อมาทันที พร้อมกับยืนยันว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ ยึดมั่นในหลักจริยธรรมในการนำเสนอข่าวและรายการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องข้อเท็จจริงและความถูกต้อง
การนำเรื่องราวที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์นำเข้าใน ‘สื่อสังคม’ มารายงานใน ‘สื่อมวลชน’ แม้สภาพการแข่งขันเป็นเหตุให้ละเว้นการตรวจสอบ แต่ถ้าเรื่องนั้น ส่งผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล หรือต่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะเรื่องที่มีความขัดแย้งอันจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แม้จะเสียเวลาจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ก็จะสามารถรักษาความน่าเชื่อถือในความเป็นสื่อมืออาชีพไว้ได้
คณะกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕
