หมอรามาฯ เผยจุดที่หน้าสนใจเกี่ยววัคซีนโควิด19 ชี้ควรมีมากกว่า 2 ชนิด

หมออายุรแพทย์โรคติดเชื้อรามาฯ เผย จุดที่หน้าสนใจเกี่ยววัคซีนโควิด19 ชี้อยากให้มีทางเลือกแก่ประชาชนมากกว่า ตัวเลือกเดิม มองวัคซีนที่ดีคือมีประสิทธิภาพดีและฉีดได้ครอบคลุม

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เผยแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19 ชนิดต่าง ๆ จากเดิมมีแค่ AstraZeneca กับ SinoVac

โดยตัวคุณหมอศุภโชค ได้บอกว่า จุดยืนของตนในเรื่องวัคซีน เขียนโดยไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ไม่อยู่ฝ่ายไหน อยู่ฝ่ายทางวิชาการและประชาชน และเขียนด้วยข้อเท็จจริงตามที่มีปรากฏ ตนนั้นสนับสนุนให้ทุกคนรับวัคซีนถ้าสามารถทำได้และไม่มีข้อห้ามใด ๆ  

โดยวัคซีนที่จะนำเข้ามาใช้ฉีดให้แก่ประชาชนชั้น ควรจะต้องมีหลากหลายชนิด เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ (เดิมมีแค่ AstraZeneca กับ SinoVac) เพราะทั้ง 2 ตัวที่นำเข้ามาอาจจะไม่ลองรับความต้องการของประชาชน และควรมีอย่างน้อย platform ละชนิดถ้าทำได้ ยกตัวอย่างเช่น

– mRNA based vaccine เช่น Pfizer/Moderna
– viral vector based vaccine เช่น AstraZeneca, J&J, Sputnik V
– inactivated vaccine: Sinopharm/SinoVac

คุณหมอให้เหตุผลที่ต้องมีหลาย platform ว่าเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะของคนไข้และแต่ละจุดประสงค์ เช่น

– Pfizer ใช้ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้
– AstraZeneca มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป
– inactivated vaccine (SinoVac/Sinofarm) ปลอดภัยในคนไข้ที่เป็น severe immunocompromise host เป็นต้น

ทั้งนี้ Vaccine แต่ละชนิด มีประสิทธิภาพ (vaccine efficacy) ไม่เท่ากัน

– Pfizer/Moderna : กันตาย กันติด (น่าจะ)กันหมู่ ได้ดีที่สุด
– AstraZeneca: กันตาย กันติด (น่าจะ) กันหมู่ได้รองลงมา
– SinoVac: กันตาย-กันหนัก พอจะกันติดได้บ้าง (ไม่สู้2ตัวแรก) กันหมู่ยังไม่รู้ว่าได้หรือไม่ ต้องติดตามข้อมูลต่อไป

โดยประสิทธิภาพวัคซีน ขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่น การทดสอบกับสายพันธุ์ที่ต่างกัน ประชากรที่เข้าศึกษา นโยบายสาธารณสุขที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการวัดผลว่าจะวัด outcome อะไร เป็นต้น

จากการศึกษาครั้งล่าสุดของคุณหมอ พบว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนไปตามกับปริมาณของ neutralizing antibody ที่สร้างได้ (ดังรูป)

จากรูป จะพบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย mRNA (Pfizer/Moderna) -> ตามด้วย Viral Vector (Sputnik-V, J&J, AstraZeneca) -> และจบที่ inactivated vaccine (SinoVac) ที่น้อยที่สุด

แต่คุณหมอก็ยังให้หมายเหตุว่า modeling นี้อาจมีข้อสังเกตที่ทำให้ model อาจจะไม่เป็นจริง
1. แต่ละการศึกษามีสายพันธุ์ที่ระบาดไม่เหมือนกันในแต่ละการศึกษา
2. ไม่มีการดูเรื่องของ cellular immunity ในแต่ละการศึกษาก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตามเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น เป็นสิทธิและไม่ใช่หน้าที่ บุคคลทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกฉีดหรือไม่ฉีด ทุกคนควรมีสิทธิจะเลือกสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุดของแต่ละคน ซึ่งจากการสอบถามคนรอบข้างของคุณหมอ (เพื่อน เพื่อนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ คนไข้ทั่วไปที่ดูแล ประชาชนทั่วไป) จะได้คำตอบที่หลากหลายว่า เช่น จะฉีดเลยตอนนี้ เพราะกันตาย ป่วยกันหนัก เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง

ท้ายสุด หมอศุภโชค ได้ระบุว่า “วัคซีนที่ดี คือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ และสามารถกระจายการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมากพอ” 

ข้อมูลจาก Suppachok NeungPeu Kirdlarp

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า