กระทรวงสาธารณสุข หรือ สธ. สั่งยกเลิก ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ปรับรูปแบบการฉีดวัคซียใหม่ “ซิโนแวค+แอสตร้าฯ” เผย โดสบูสเตอร์ ใช้แอสตร้าฯ เป็นหลัก
วันนี้ 12 กรกฎาคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงหลังจากประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ผ่านการไลฟ์สดทางเฟซบุ๊ก ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยเผยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร(กทม). และปริมณฑล ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดเดลต้าในต่างจังหวัด โดยพบผู้ติดเชื้อประมาณ 1 แสนกว่ารายใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตยังพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ยังกล่าวถึงมาตรการที่ดำเนินการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนี้
- ห้ามมีการรวมกลุ่มกันเกิน 5 คน
- ปิดสถานที่เสี่ยง
- จำกัดการเดินทางข้างจังหวัด
- ลดจำนวนขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัดระยะไกล
- Work From Home ทั้งของภาครัฐและเอกชน
- ปรับแผนการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ให้ได้1 ล้านคนใน 2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากยังไม่ครบตามเป้าหมาย โดยเฉพาะพื้นที่ระบาดรุนแรงใน กทม.และปริมณฑล
และสำหรับการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีการพิจารณาประเด็นการควบคุมโรคโควิด 4 ประเด็น
- เห็นชอบให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบสลับชนิด โดยเข็มแรกเป็นซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิดเดลต้า โดยโรงพยาบาลต่างๆสามารถดำเนินการได้ทันที
- วัคซีนเข็มที่ 3 หรือ วัคซีนโดสบูสเตอร์ (Booster dose) ซึ่งฉีดห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 3-4 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เกิน 4 สัปดาห์แล้ว สามารถรับวัคซีนบูสเตอร์ได้ทันที เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับหน้าด่านของที่สัมผัสกับเชื้อโควิด-19 ยิ่งมีการพบการแพร่เชื้อของโควิดเดลต้า และ อัลฟ่า ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโดสที่3
- เห็นชอบแนวทางในการใช้ชุดตรวจ แรพิด แอนติเจน เทสต์ ในสถานพยาบาล ความแออัดในการรอตรวจเชื้อแบบ RT-PCR โดยชุดตรวจแรพิด แอนติเจน เทสต์ ที่นำมาใช้ต้องผ่านการรับรองโดยอย. ทั้งหมด 24 ราย อนุญาติให้ตรวจในสถานพยาบาลกว่า 300 แห่ง และในเร็วนี้จะอนุญาตให้ประชาชนสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน
อ่านเพิ่มเติม : เช็กที่นี่! 24 ยี่ห้อ Rapid Antigen Test ที่อย.ไทยรองรับ - เห็นชอบแนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และแยกกักในชุมชนชน (Community Isolation) ผู้ป่วยติดเชื้อไม่อาการไม่รุนแรง สามารถกีกตัวที่บ้าน หรือในชุมชนได้ จะมีระบบติดตาม มีเครื่องมือวัดออกซิเจนในกระแสเลือด มียา โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)มีแนวทางและจัดส่งอาหารให้ผู้ป่วยทุกราย ซึ่งสปสช.จะร่วมมือกับรพ.ที่เป็นเจ้าภาพในการดูแลเรื่องนี้
“การบูสเตอร์ โดส จะเป็นแอสตร้าฯ เป็นหลัก เพราะมีข้อมูลทางวิชาการว่า การให้วัคซีนกระตุ้นคนละชนิดจะเป็นผลดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในบุคคล เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น”
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)
สามารถติดตามข่าวสาร และ เรื่องดีๆเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV
ข่าวที่น่าสนใจ