โลกออนไลน์ดราม่าเดือด #ไฟเซอร์นักเรียน หลังรัฐบาลเดินหย้าฉีดวันซีนให้นักเรียนเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2
หลังจากที่รัฐบาลได้เดินหน้าฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปให้กับเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 12-18 ปี เมื่อวันที่ 4 ต.ค. เป็นวันแรก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2 แต่ถึงอย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้ดำเนินมาก็ได้เกิดขึ้นถกเถียงขึ้นผ่านาแฮชแท็ก #ไฟเซอร์นักเรียน หลังมีกลุ่มนักเรียนบางกลุ่มที่ออกมาปฏิเสธการรับวัคซีนเนื่องจากกลัวผลข้างเคียง จนกลายเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่มีเทรนด์ใน TikTok เกี่ยวกับข่าวปลอมที่พูดถึงผลข้างเคียงหลังจากเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ จนทำให้ชาวเน็ตออกมาตำหนิถึงคอนเทนต์ดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวปลอมบนแอปพลิเคชันไลน์ที่ส่งข้อความต่อกันในกลุ่มของผู้ปกครองนักเรียน ที่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีส่วนทำให้ผู้ปกครองไม่อนุญาตให้นักเรียนเข้าขรับการฉีด โดยลักษณะของข้อความจะแอบอ้างว่า “ไฟเซอร์คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ใครฉีดจะตายในสองปี”


อย่างไรก็ตาม ทางด้านของ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ มีวัคซีนชนิดเดียวที่มีในประเทศไทย คือชนิด mRNA ของ Pfizer-BioANTech และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 วัคซีนชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองเพิ่มเติม (แต่ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนนี้ในประเทศไทย)
ในส่วนของผลข้างเคียงหลังจากที่รับวัคซีนไฟเซอร์นั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ได้อ้างอิงผลงานวิจัยเหตุการณ์ไม่ถึงประสงค์จากวัคซีนของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับอัตราการเกิดผลข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่น กลุ่มอายุ 12 – น้อยกว่า 16 ปี ในอัตรา 162.2 ต่อการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1 ล้านโดส ในขณะที่อัตราข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่นหญิงกลุ่มเดียวกัน พบต่ำกว่ามาก คือ 13 ต่อการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จำนวน 1 ล้านโดส
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ จึงให้คำแนะนำไว้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ว่า ให้นักเรียนชายที่แข็งแรง รับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 1 ก่อน และชะลอการฉีดเข็ม 2 จนกว่าจะมีข้อมูลความปลอดภัยเพิ่มเติม ทว่า การฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรกจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งพบได้น้อยมาก
ขณะที่ ดร.สุวดี พันธุ์พานิช เลขานุการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี และ รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย ได้ทวีตถึงประเด็นนี้ด้วยว่า
“ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนเป็นสิทธิส่วนบุคคล วัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO ให้ฉีดได้ในกลุ่มเด็ก เป็นข้อมูลที่ช่วยยืนยันว่า มีข้อดีมากกว่าข้อเสียในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ คนต้องเลือกวัคซีน ไม่ใช่วัคซีนเลือกคน เอามาให้หลากหลายมากพอเถอะค่ะรัฐบาล #ไฟเซอร์นักเรียน”
นอกจานี้ยังมีประเด็นเรื่องของการตัดสิทธิรับวัคซีนไฟเซอร์ของเด็กนักเรียนชั้นม.6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเพราะนักเรียนมีทั้งอายุ 17 และ 18 ปี แต่ทางจังหวัดจัดสรรวัคซีนให้กับนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงแก้ปัญหาด้วยการให้นักเรียนชั้นม.6 ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ในรอบถัดไปแทน

ข่าวที่น่าสนใจ
ตำรวจเตือน ประชาชนห้าม ด่า-ปาไข่เน่า-เผารูป นายก กรณีพล.อ.ประยุทธ์ ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช
ไฟเขียว! เห็นชอบจ้างแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ 5 พันอัตรา 1 ปี ช่วยงานโควิด
คืบหน้า ตำรวจ คฝ. ถูกยิงหัว แพทย์ต้องผ่าตัดสมอง ล่าสุดพ้นขีดอันตรายแล้ว