พลาสมา — หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า
“โควิด 19 การให้ Plasma จากผู้ที่หายป่วยมารักษา ศูนย์บริการโลหิตได้เก็บ Plasma จากผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง ได้เป็นจำนวนมากพอสมควร
ขณะนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ในการระบาดรอบใหม่ เราไม่มีผลิตภัณฑ์ monoclonal antibody แบบที่ให้กับประธานาธิบดีอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว
ผมเองได้ติดตามการรักษา โดยใช้ Plasma ในผู้ป่วย 10 ราย ที่มีอาการปอดบวมทั้งสองข้าง หรือมีปอดบวมร่วมกับปริมาณออกซิเจนในเลือด ต่ำกว่า 94 เปอร์เซ็นต์
การรักษามีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่รายนี้ให้การรักษาค่อนข้างช้า เพราะมีภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว และใส่ท่อช่วยหายใจแล้ว จึงได้รับ
ในรายที่รักษาตั้งแต่เริ่มมีปอดบวม ที่เพิ่มมากขึ้น หลายราย ได้ผลดีและกลับบ้านแล้ว ยังเหลืออยู่นอนในโรงพยาบาลอีก 4 ราย
หลักฐานทางวิชาการที่ผ่านมา การใช้ Plasma ในการรักษา จะต้องให้ตั้งแต่เริ่มแรก ในกลุ่มเสี่ยง ที่มีปอดบวม ก่อนที่ผู้ป่วยจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้เอง เพื่อลดจำนวนไวรัสลง
ถ้าให้ช้า จนถึงภาวะปอดบวมรุนแรง หรือภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว จะไม่เกิดประโยชน์ในการใช้ Plasma
ขณะนี้ Plasma ที่เก็บไว้มีเป็นจำนวนมากพอสมควร และมีระดับภูมิต้านทานที่สูง มีเพียงพอที่จะไว้ใช้รักษาในการระบาดรอบใหม่นี้แน่นอน”
เครดิตภาพ xinhuathai