มาทำความรู้จัก โรคไข้เหลือง กันเถอะ! ไม่เพียงเท่านั้นยังมีวิธีป้องกันมาฝากทุกคนอีกด้วย
หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อ “โรคไข้เหลือง” กันใช่ไหมหละคะ วันนี้ ไบรท์ทีวี (BightTV) จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก ทำความเข้าใจโรค และวิธีการป้องกันโรคไข้เหลือง หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ โรคไข้เหลืองคือการโดนยุงกัดนั่นเอง แต่คุณรู้หรือไม่คะ ว่าการโดนยุงกัดอันตรายกว่าที่คิด ไม่เพียงแต่โรคไข้เลือดออกเท่านั้นแต่ยังมีโรคไข้เหลืองที่เราจะต้องระวังกันอีกด้วย
โรคไข้เหลือง คืออะไร
โรคไข้เหลือง (Yellow fever) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสฟลาวิ Flavivirus ชนิดเฉียบพลัน อยู่ในตระกลู Flaviviridae โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค จะแสดงอาการหลังวันที่ได้รับเชื้อแล้ว 3 – 6 วัน โรคไข้เหลืองเป็นโรคประจำถิ่น ที่พบได้มากในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้
อาการโรคไข้เหลือง
- ปวดศีรษะ
- มีไข้สูง
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจจะอาเจียนเป็นเลือด
ในผู้ที่มีอาการรุนแรง อาจมีเลือดออกง่ายผิดปกติในร่างกาย เช่น ตา ปาก จมูก กระเพาะอาหาร เป็นต้น ในระยะต่อมาอาจเกิดตับวาย ไตวาย การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง พ.ศ. 2560 ทั้งหมด 42 ประเทศ ดังนี้
- ทวีปอเมริกาใต้ 13 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย เปรู กายอานา เฟรนซ์เกียนา ปานามา ปารากวัย เอกวาดอร์
- ทวีปแอฟริกา 29 ประเทศ ได้แก่ แองโกล่า เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แดเมอรูน คองโก สรารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด โกตดิวัวร์ เอธิโอเปีย ไนเจอร์ แกมเบีย กาบอง กานา กีนี กินี่บิสเซา เคนยา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย ไนจีเรีย เซเนกัล โตโก เซียร์ราลีโอน ซูดาน เซาท์ซูดาน ยูกันดา อิเควทอเรียลกินี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
การติดต่อและแพร่กระจายเชื้อ
ตามธรรมชาติโรคไข้เหลืองเกิดได้ 2 วงจร คือ วงจรในป่าและทุ่งหญ้าสะวันนา และวงจรในเมือง
- วงจรในป่าและทุ่งหญ้าสะวันนา มีเชื้อไวรัสในลิง และมียุงหรือยุงลายเป็นพาหะนำโรค ไปกัดลิงและไปกัดนักท่องเที่ยวต่อ
- วงจรในเมือง มียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงนำเชื้อไวรัสมากัดคน และส่งต่อไปกัดอีกคน ทำให้เชื้อแพร่กระจาย

วิธีป้องกันโรคไข้เหลือง
การฉีดวัคซีนป้องกัน โยวัคซีนทำมาจากเชื้อไวรัสไข้เหลืองที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 ครั้ง หลังฉีดวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานอย่างน้อย 10 ปี
ผู้ที่ควร ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง
- เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป และผู้ใหญ่ที่อาศัยหรือเดินทางไปยังพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคไข้เหลือง โดยควรฉีดวัคซีนก่อนเดินทางอย่างน้อย 10 วัน
- ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะได้รับเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ซึ่งมีอายุรับรองตั้งแต่ 10 วันหลังฉีดวัคซีน จนถึง 10 ปีหลังจากนั้น
ผู้ที่ไม่ควร ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง
- เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองในครั้งก่อน
- แพ้สารเจลลาตินหรือแพ้ไข่
- เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
นอกจากนี้ควรสวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด แขนยาว ขายาว ทาหรือฉีดยากันยุง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกับผู้อื่น
สถานที่ให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง
- สถาบันบำราศนราดูร โทร. 0 2590 3430
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง โทร. 0 2521 0943-5
- ที่ทำการแพทย์ตรวจคนเข้าเมืองสวนพลู โทร. 0 2287 2194 หรือ 0 2286 5114
- สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โทร. 0 2252 0161-4
- โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0 2306 9100 ต่อ 3034 หรือ 0 2306 9145
- ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศท่าเรือ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2240 2057
- ศูนย์พัทยารักษ์ จังหวัดชลบุรี โทร. 0 3819 9346
- ด่านแหลมฉบัง โทร. 0 3840 9344
- คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวศรีดอนไขย จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5327 6364
- ศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์ จังหวัดสงขลา โทร. 0 7425 7272
- โรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต โทร. 0 7634 2633-4
ที่มา กระทรวงสาธารณะสุข , โรงพยาบาลพญาไท