กทม. โต้แย้ง หลังคนกรุงสุดงง ดราม่าป้าย สกายวอล์กปทุมวัน ไม่ปัง แถมเปลี่ยนรายวัน ที่แท้ภาพในโลกโซเชียลคือคนละฝั่ง ไม่ได้เปลี่ยนป้าย
สีไหนสวย !!? กทม.ติดเพิ่มสติกเกอร์สีชมพู สกายวอล์ก ปทุมวัน หลังวิจารณ์แซ่ดโลโก้เขียว วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กทม. ได้ติดสติกเกอร์ ที่สกายวอล์กปทุมวัน มีข้อความ ‘กรุงเทพฯ Bangkok’ พื้นด้านหลังสีชมพู ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง ของรางบีทีเอส หลังจากก่อนหน้านี้ได้ติดสติกเกอร์สีเขียวด้านตรงข้ามไปแล้ว

ซึ่งก่อนหน้านี้ นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยถึงที่มาของฟอนต์ที่ใช้ในสติกเกอร์ข้อความใหม่ที่ปิดบนแนวคานของรางรถไฟฟ้า กลางแยกปทุมวัน “กรุงเทพฯ – Bangkok” ว่าเป็นฟอนต์ใหม่ที่ กทม.จัดทำขึ้นภายใต้ CI (Corporate Identity) ของกรุงเทพมหานคร ชื่อว่าฟอนต์ “เสาชิงช้า” มีต้นแบบมาจากตัวอักษรไทยนริศที่อยู่ในตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครซึ่งมีมาดั้งเดิม คือภาพสัญลักษณ์พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่อาศัยภาพวาดของกรมพระยานริศรานิวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ
- กิสเนสส์บุ๊คเข้ายัง? เพจดังแซะ แม่น้องไนซ์ เชื่อมจิต ขึ้นโรงพักทุกวัน สงสัยจะทำสถิติ
- สุดสงสาร!? เด็ก 14 ชิงทรัพย์กลางกรุง สุดท้ายโดนรวบ พบชีวิตสุดรันทด
- สยอง คนถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ สายการบิน KLM เนเธอร์แลนด์

ทางกทม.ได้มีการออกแบบ และเริ่มนำฟอนต์เสาชิงช้ามาใช้ในการสื่อสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปลายปี 2566 แล้ว โดยทุกหน่วยงานในสังกัด กทม. ทั้ง 23 สำนัก และ 50 สำนักงานเขต ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เป็นอัตลักษณ์ รวมถึงการใช้สีหลักคือสีเขียวมรกตที่นำมาใช้บ่อยที่สุด และสีรองอีกหลากหลายสีที่ใช้ในการออกแบบตกแต่ง การวางโลโก้ กราฟิก การออกแบบภาพ ฯลฯ
และยังได้กำหนดไว้ในคู่มือการใช้อัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร และนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชิ้นงาน โดยประชาชนจะได้เห็นตัวอักษรเสาชิงช้าบ่อยขึ้นตามสื่อต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น ป้าย สื่อวิดีทัศน์ สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ รวมทั้งของที่ระลึกต่าง ๆ ด้วย
ทั้งนี้ จากการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลว่า กทม. นั้นเปลี่ยนสีป้ายรายวัน หลังจากที่ทีมข่าวตรวจสอบแล้วนั้น แท้จริงแล้วภาพที่ปรากฏดังกล่าว เป็นเพียงภาพถ่ายจากคนละฝั่งถนนนั้นคือสีชมพู ส่วนอีกฝั่งยังคงเป็นสีเขียวตามเดิม
ข้อมูล และรูปภาพจาก มติชน