หมอมด ถอดภาษากาย จากการให้สัมภาษณ์ของ “โตโน่ ภาคิน” ชี้ กดดันสูง อดกลั้นอารมณ์รุนแรงในใจ ก่อนว่ายข้ามโขง รับบริจาคช่วยรพ.
พรุ่งนี้แล้ว!! 22 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็น D-Day ของโตโน่ ภาคิน นักร้องนักแสดง ที่จะพิชิตภารกิจแม่น้ำโขง ในโครงการ One Man and The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้ ท่ามกลางดราม่า และ กระแสตีกลับอย่างหนัก ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มซ้อม โดยมีหลายๆฝ่ายออกมาค้านการว่ายข้ามโขงครั้งนี้ กระแสน้ำไม่ใช่กระแสน้ำที่คนควรจะลงไปว่าย แต่อย่าวไรก็ตาม เจ้าตัวยังไงเดินหน้าซ้อม และไม่ยกเลิกภารกิจนี้
ล่าสุดทางด้าน ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ หรือ หมอมด ทันตแพทย์ที่มีความสนใจในศาสตร์ด้านจิตวิทยาหลากหลายแขนง โดยศึกษาต่อในศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศาสตร์ด้านภาษากาย และการแสดงออกทางใบหน้า หรือ สีหน้า ได้ถอดรหัสภาษากายจากการให้สัมภาษณ์ของ โตโน่ ภาคิน ของช่อง One ในวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ก่อนภารกิจว่ายข้ามโขง

เมื่อถูกถามว่า พร้อมไหม เจ้าตัวตอบว่า “พร้อมที่จะ……ว่าย”
- มองเฉียงลงด้านล่างขวา (looking down to the lower left quadrant) มักสัมพันธ์กับการคิดและมีอารมณ์ลบเป็นส่วนประกอบ เช่น ความรู้สึกผิด ละอาย กลัว
- เม้มริมฝีปาก (Inward lip roll) เป็นภาษากายที่เกิดโดยปราศจากการบังคับโดยเจ้าตัว (Subconcious) จะสัมพันธ์กับการกลั้นอารมณ์ลบ (Conceling strong negative emotion) เช่น การกลั้นอารมณ์เสียใจ ความเครียด ความกลัว หรือความโกรธ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากสภาวะปากแห้ง หรือ ริมฝีปากแห้ง
- มือขึ้นมาเช็ดจมูก (Hand rubbing nose) จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Psychological discomfort) จะพบได้บ่อยในกรณีที่พูดสิ่งที่ลำบากใจ เช่น โกหก ปกปิด พูดความจริงไม่ครบ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากการสัมผัสจมูกออกจากการ เช็ด หรือ ขยี้จมูกเพราะเป็นภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ รวมถึง Baseline ของผู้พูดร่วมด้วย
ช่วงที่พูดถึงการระดมทุนหาอุปกรณ์แพทย์
- มือที่หยิกคางก็เปลี่ยนเป็นการคลึงและลูบคาง ในภาษากายการลูบและคลึงเป็นการปลอบประโลมทางจิตใจ (Releasing psychological stress) แปลว่าจังหวะนี้อารมณ์ลบที่เก็บไว้จะเริ่มลดลง เปรียบได้คล้ายกับเด็กน้อยเวลาร้องไห้แล้วมีคนลูบหัวโอ๋ พอเราโตแล้วก็จะมีกลไกในการปลอบประโลมตัวเองแบบไม่รู้ตัวได้ในสถานการณ์บางสถานการณ์

“แต่ก็หวัง คิดอย่างเดียวว่า หวังว่าทุก ๆจ้วง (*) ที่ว่ายลงไปในน้ำ….(**)จะช่วยคุณหมอ คุณพยาบาลได้ จ้วงละบาทก็ได้ จ้วงละสองบาทก็ได้”
- ตลอดในจังหวะนี้จะพบการใช้มือจับคางคล้ายตอนต้นแต่ถ้าดูในรายละเอียดจะพบว่าไม่ใช่ อยากให้สังเกตว่าเจ้าตัวใช้ปลายนิ้วกำลังหยิกคางตัวเองค้างไว้จนปลายนิ้วโป้งซีดขาว การหยิกตัวเองเป็นการพยายามกลั้นหรือสะกดอารมณ์ เป็นลักษณะเดียวกับเวลาบางคนหยิกแขน หรือ หยิกต้นขาตัวเอง
- จังหวะ (*) จะพบเจ้าตัวยิ้มออกมา แต่ยังคงก้มหน้ามองต่ำ เจ้าตัวพยายามปรับและจูนอารมณ์(Compensating)ให้เป็นกลางมากขึ้น
- จังหวะ (**) จะพบเจ้าตัวหลับตาไปครู่หนึ่งและพบมีน้ำตาคลอ (Eyes filled with tears) การพูดแล้วมีน้ำตาคลอก็สัมพันธ์กับความรู้สึกบางอย่างที่รุนแรง (High intensity of emotion) อาจจะเป็นความรู้สึกที่ดี หรือ ไม่ดีก็ได้ เช่น โศกเศร้า เสียใจ หรือ ตื้นตัน ซาบซึ้ง ซึ่งจะต้องดูภาษากายอื่นร่วมด้วยในการวิเคราะห์
“(*)ตื่นเต้น ก็ตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ (**) …(***)นึกภาพไม่ออกว่าจะออกมายังไง”
- มือจับคาง เป็นลักษณะทั่วไปที่พบเวลากำลังครุ่นคิด และร่วมกับการมองเฉียงขึ้นบน อธิบายได้ว่ากำลังคิดและจินตนาการเป็นภาพอยู่ในหัว (Mental image) ทั้งนี้หลายคนมักตีความผิดว่าการมองบน หรือ ลูกตากลอกในลักษณะนี้แปลว่าโกหก อันเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน
- จังหวะนี้พบ Microexpression ของ Regret มักสัมพันธ์กับความรู้สึกผิด อึดอัดใจ หรือลำบากใจ เป็นภาษากายที่พบได้ในสถานการณ์แจ้งขอโทษ สารภาพผิด หรือ แจ้งข่าวร้าย
- คลิกปาก คือ การดูดน้ำลายในปากให้เกิดเสียงโดยการหดแก้มมาชิดฟันที่กัดกันและดูดลมเข้าปากสั้น ๆ เร็ว ๆ เป็นภาษากายที่เกิดเมื่อกำลังใช้ความคิดวิเคราะห์ พบบ่อยเวลามีอารมณ์หงุดหงิด
สรุป – โดยรวมจะเห็นจากภาษากายต่าง ๆ ว่าคุณโตโน่เครียดและมีความกดดันสูง จะเห็นชัดว่าเจ้าตัวกำลังอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ที่รุนแรงที่อยู่ภายในจิตใจ และสังเกตจากการพูดที่หยุดพูด หยุดคิดบ่อย ๆ หรือ พูดไม่ครบประโยคแบบละไว้ในฐานที่เข้าใจ ทำให้เป็นการสัมภาษณ์ที่ดูไม่ค่อยไหลลื่น
แม้ร่างกายคุณโตโน่จะพร้อมและเทสผ่าน แต่สำหรับสภาวะจิตใจอาจจะยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์ จึงเป็นการบ้านที่เจ้าตัวจะต้องจัดการความรู้สึกให้ได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะถึงวันทำกิจกรรม
ข้อมูลข้อมูล และอ่านเพิ่มเติมได้ที่ bodylanguageclassroom
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY