นักสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ค้นพบปู-กุ้ง มีความรู้สึกเจ็บปวดเหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ เรียกร้องห้ามนำต้มในน้ำเดือดขณะมีชีวิตอยู่
ห่วงโซ่อาหารคือการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตเป็นทอด ๆ เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีการบริโภคต่อ ๆ กันจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ในห่วงโซ่อาหารประกอบไปด้วยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ผู้ผลิตนั้นถือเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ต่อมาผู้บริโภคที่กินพืชจะถือได้ว่าเป็นผู้บริโภคอันดับ 1 ส่วนผู้บริโภคที่กินสัตว์ จะถือเป็นผู้บริโภคอันดับ 2 และมีผู้บริโภคอันดับ 3 ต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ห่วงโซ่อาหารก็คือ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่มีการกินต่อกันเป็นทอด ๆ และมีการถ่ายทอดพลังงานต่อเนื่องกันของสิ่งมีชีวิต
ในการเขียนห่วงโซ่อาหาร จะเริ่มจากการเขียนผู้ผลิตเป็นอันดับ 1 โดยเขียนทางด้านซ้าย ตามด้วยผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ และมีการเขียนลูกศรถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตหนึ่ง เช่น พืชเป็นผู้ผลิต ต่อมาหนูกินพืช หนูจึงเป็นผู้บริโภคอันดับ 1 และงูกินหนู งูจึงเป็นผู้บริโภคอันดับ 2 สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงมีการถ่ายทอดพลังงานต่อกันไปเรื่อย ๆ เป็นทอด ๆ
หากในระบบนิเวศมีห่วงโซ่อาหารหลายห่วงโซ่ สิ่งมีชีวิตสามารถเลือกกินได้หลากหลาย ดังนั้น ห่วงโซ่อาหารจึงมีความสัมพันธ์กันระหว่างห่วงโซ่อาหาร เราเรียกว่า สายใยอาหาร (Food web) เป็นการรวมห่วงโซ่อาหารหลายห่วงโซ่เข้าด้วยกัน (Complex food chain) โดยห่วงโซ่อาหารจะมีลักษณะเชื่อมโยงกันเป็นใยแมงมุม และการถ่ายทอดระหว่างสิ่งมีชีวิตเป็นไปได้หลายทาง
นักสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์กเรียกร้องให้มีการห้ามต้มปูขณะยังมีชีวิตทันที นักวิจัยค้นพบว่าปูสามารถรู้สึกเจ็บปวดได้เช่นเดียวกับสัตว์อื่น ๆ จึงเรียกร้องให้แบนการต้มปูทั้งเป็น ทางด้านนักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก เชื่อว่าควรห้ามการต้มสัตว์จำพวกกุ้งในขณะที่ยังมีชีวิต และควรใช้เทคนิคอื่น ๆ เช่น การช็อตด้วยไฟฟ้าทันทีที่จับสัตว์จำพวกกุ้งได้

- เจ็บปวดใจ! แม่ค้าโอด ลูกค้าขอถุงแกงแทนกล่อง หวังลดราคา ‘ขนมไทย’
- หาทำ! จีนเปิดตัว พิซซ่าหน้ากบ เมนูใหม่สุดแปลก ทำชาวเน็ตฮือฮา
- ช็อก! หนุ่มสั่งหม้อไฟมากิน เจอเบ็ดตกปลาคาหัว เชื่อแล้วว่าธรรมชาติจริง
ในการศึกษานี้ นักวิจัยได้ใช้การสแกนสมองเพื่อดูว่าระบบประสาทของปูตอบสนองอย่างไรเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เจ็บปวด ผลการทดลองนี้เปิดเผยหลักฐานแรกที่ว่าปูประมวลผลความเจ็บปวดได้ในลักษณะเดียวกับมนุษย์
ซึ่งนักวิจัยนำปูจากชายฝั่งที่เป็นอัมพาตบางส่วน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปูเขียวยุโรป มาต่ออิเล็กโทรดเข้ากับกลุ่มเส้นประสาทที่เรียกว่าปมประสาท ซึ่งประกอบเป็นระบบประสาทส่วนกลาง จากนั้นปูจะได้รับการกระตุ้นทางเคมีหรือทางกายภาพอันเจ็บปวดโดยใช้สารละลายกรดอะซิติก และหัววัดพิเศษ พวกเขาค้นพบว่าความเสียหายหรือความเครียดที่กรงเล็บ หนวดและขาทำให้มีกิจกรรมทางไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในปมประสาทที่เกี่ยวข้อง
จากการค้นพบนี้ นักวิจัยเรียกร้องให้มีการห้ามการต้มปูทั้งเป็นและแนะนำให้ใช้เทคนิคที่ไม่ทำให้สัตว์รู้สึกเจ็บปวด เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า หรือการช็อตไฟฟ้าให้หมดสติ ทันทีที่สัตว์ถูกจับมา นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ครัสเตเชียน หรือสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว เช่น ปู กุ้ง และล็อบสเตอร์ ให้เท่าเทียมกับสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศ เช่น ในสหภาพยุโรป สัตว์ครัสเตเชียนเหล่านี้ยังคงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้สามารถต้มปูทั้งเป็นหรือทำร้ายมันในลักษณะอื่นได้ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เราบริโภค ซึ่งนักวิจัยระบุว่า ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตอบสนองของสัตว์ครัสเตเชียนต่อความเจ็บปวด และหวังว่าในอนาคตจะมีการออกแนวทางและกฎหมายที่ชัดเจนในการคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์เหล่านี้ เพื่อให้การฆ่าสัตว์ครัสเตเชียน เพื่อการบริโภคเป็นไปอย่างมีมนุษยธรรมมากขึ้น
ข้อมูลจาก dailymail