ระวัง! ไอเรื้อรัง นานเกิน 2 สัปดาห์ เสี่ยงเป็น วัณโรค เตือน หากเจออาการควรพบแพทย์ ปี 2567 คนไทย เป็นใหม่ 113,000 ราย เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

กรณี ข่าวสุขภาพคนไทย เรื่อง ไอเรื้อรัง เสี่ยงเป็น วัณโรค เมื่อวันที่ วันที่ 27 มีนาคม 2568 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก และองค์กรเครือข่ายหยุดยั้งวัณโรคระดับนานาชาติ (Stop TB Partnership) ได้มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันวัณโรคสากล (World TB Day) เพื่อให้เกิดการรณรงค์ร่วมกันในการต่อต้านวัณโรค และย้ำเตือนให้ประชากรทั่วโลกตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาด และยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ

จาก ข้อมูล รายงานของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 พบว่า “วัณโรค” ยังคงเป็นโรคติดเชื้อที่อันตราย มีผู้ป่วยกว่า 10.8 ล้านรายทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคประมาณ 1.3 ล้านราย “ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ประมาณ 113,000 ราย และเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 13,000 ราย” ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเช่นกัน

ไอเรื้อรัง เสี่ยงเป็น วัณโรค (2)

กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ขององค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านวัณโรค (Service Plan) ด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงสูง การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการเกิดวัณโรคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้าน ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง ร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ 90 ภายในปี 2578 นอกจากนั้น กรมควบคุมโรค ยังได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ในปี 2578 โดยให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ คือ
1.การเร่งรัด การค้นหา และตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในทุกกลุ่มเสี่ยง
2. ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา
3. เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการวินิจฉัย การรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสนับสนุนการดำเนินงานวัณโรค

ข่าวที่น่าสนใจ

ไอเรื้อรัง เสี่ยงเป็น วัณโรค

วัณโรค เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ติดต่อจากผู้ป่วยไอ จาม ไม่ปิดปากปิดจมูก อาการสำคัญของผู้ป่วยวัณโรคที่เห็นได้ชัด คือ ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ น้ำหนักลด มีเหงื่อออกผิดปกติในเวลากลางคืน เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งถ้าหากมีอาการไอมีเลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ป้องกันภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิต

รัฐบาลแนะประชาชนสามารถป้องกันวัณโรคได้ โดยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเข้ารับการตรวจสุขภาพหากมีอาการผิดปกติ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมาย “ยุติวัณโรคอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล”

ไอเรื้อรัง เสี่ยงเป็น วัณโรค (1)

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เกิดอะไรขึ้น สป.สายไหม บอกลาลูก แล้ว หลังมีข่าว ตร.จ่อเรียกสอบสวน

จับตา สป.สายไหม บอกลาลูก บอกคิดถึงลูก เดี๋ยวกลับมาหา เกิดอะไรขึ้น หลัง ตำรวจไซเบอร์ จ่อเรียกสอบสวน ปมเว็บพนันออกไลน์

อ.คฑา ดาวพุธย้าย มีดวงเฮงยืน1 การงานดำเนินดี มีโชคชัย พร้อมคาถาเสริมดวง

อ.คฑา ดาวพุธย้าย มีดวงเฮงยืน1 การงานดำเนินดี มีโชคชัย พร้อมคาถาเสริมดวง อาจารย์คฑา ชินบัญชร เป็นหนึ่งในนักโหราศาสตร์และนักพยากรณ์ชื่อดังของประเทศไทย ซ […]

พบสายเปย์ ดวงพบรัก 5 ราศี พบเส้นทางรัก ชักนำเส้นทางรวย

พบสายเปย์ ดวงพบรัก 5 ราศี พบเส้นทางรัก ชักนำเส้นทางรวย โอกาสมีคู่ของคนโสดมาถึงแล้ว โอกาสมีความรักกำลังมา ใครที่กำลังมองหาความรักดีๆ ขอให้ดีใจ เพราะดวง […]

แบบนี้ได้เหรอ! เว็บพนัน 888 แถลงการณ์ ขอรับผิดชอบต่อสังคม

เอ๊ะแบบนี้ได้เหรอ เว็บพนัน 888 แถลงการณ์ บุคคลที่กำลังเป็นข่าวแค่จ้างอินฟลูฯมาโปรโมท ล่าสุดไม่รับสมาชิกชั่วคราว 

น้องลูกพีช ไปจ่ายค่ารักษาลุงป้า-ฝากเงินสดให้ 1 แสน แต่ทำไม่ได้ – กัน จอมพลัง สวนกลับทันที

น้องลูกพีช ล่าสุดไปโรงพยาบาลจ่ายค่ารักษาให้ลุงป้าคู่กรณี และฝากเงินสด 1 แสนให้ใช้จ่าย แต่ไม่สามารถทำได้ ด้าน กัน จอมพลัง ลั่นไม่เคยได้รับ

ใจเด็ดเวอร์! สาวสู้งูจงอางยักษ์ในป่า เตะก้านคอทีเดียวรู้เรื่อง

สาวเล่านาทีสู้งูจงอาง 4 เมตรกลางป่าหลังเผชิญหน้ากัน งูฉกหัวเข่าและเตะก้านคอ จับหัวกดนำซากมารพ. โชคดีหมอช่วยทัน
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า