ผู้เชี่ยวชาญจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย ไม่ได้จำเป็นต้องล้างไข่ไก่ แต่ถ้าอยากจะล้างต้องแช่ตู้เย็นเสมอ ส่วนไข่ที่ไม่ได้ล้างสามารถเก็บไว้นอกตู้เย็นได้เป็นสัปดาห์
ไข่ไก่ล้างหรือไม่ล้างก่อนแช่เย็นหรือปรุงอาหารเพจเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant (อาจารย์เจษฎ์) โดย นายเจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลาย ๆ เพจแนะนำให้ล้างไข่ไก่ทุกครั้งก่อนแช่ตู้เย็นเพื่อป้องกันเชื้อจากตูดไก่ โดยอ้างว่าไข่ไก่ดิบอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จากลำไส้ของแม่ไก่ เช่น เชื้อแซลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งก่อให้เกิดอาการไข้ ถ่ายเหลว หรืออาเจียนได้
แม้ว่าการล้างไข่ไก่ก่อนแช่ตู้เย็นจะช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อาจติดมากับไข่ แต่หน่วยงานด้านอาหารส่วนใหญ่ เช่น USDA ของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าไม่ควรล้างไข่ไก่ที่ผ่านการบรรจุกล่องจำหน่ายแล้วก่อนเก็บหรือปรุงอาหาร เนื่องจากจะทำให้สารที่เคลือบผิวของไข่ตามธรรมชาติหลุดออก และน้ำที่ล้างจะยิ่งทำให้เชื้อจุลินทรีย์ผ่านรูพรุนที่ผิวเปลือกไข่เข้าสู่ภายในไข่ได้ง่ายขึ้น
เปลือกไข่ที่สกปรกอาจมีเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลลาปนเปื้อนอยู่ และเชื้อสามารถผ่านรูพรุนที่เปลือกไข่เข้าไปได้ โดยที่ดวงตาของเราไม่สามารถมองเห็นได้ว่าไข่นั้นมีเชื้ออยู่หรือไม่ รวมถึงอาจมีการแพร่กระจายของเชื้อผ่านการหยิบจับไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้และพื้นผิวบริเวณที่ประกอบอาหารได้

- หัวหน้าช่างเชื่อม ปีนขึ้นดูงาน พลัดตก ดับสลด ย่านซอยสุขุมวิท
- สาวเจอ “ยารักษามะเร็ง” ของแม่ ถามเอามาจากไหนไม่บอก ควรทำอย่างไรต่อดี?
- ด่วน! เครนถล่ม ไซต์ก่อสร้าง คนงานเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บหลายคน
อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้จำเป็นที่จะต้องนำไข่ไปล้าง แต่ถ้าอยากจะล้างก็ต้องแช่ตู้เย็นเสมอหลังจากที่ล้างแล้ว ส่วนไข่ที่ไม่ได้ล้างกลับสามารถเก็บไว้นอกตู้เย็นได้เป็นเวลานานเป็นสัปดาห์ ๆ
ไข่ไก่ที่เราซื้อมานั้น หากเป็นไข่จากฟาร์มและโรงงานที่ผ่านกระบวนการผลิตและบรรจุกล่องที่ได้มาตรฐาน ไข่ไก่นั้นจะมีการทำความสะอาดมาแล้ว โดยไข่จะถูกนำเข้าในห้องล้างไข่ ผ่านเครื่องล้างที่มีแปรงขัดผิวเปลือกไข่ เพื่อทำความสะอาดไข่ที่เปื้อนมูลไก่และฝุ่น ผ่านการฉีดล้างด้วยสเปรย์น้ำ ก่อนนำเข้าเครื่องเป่าแห้ง จากนั้นนำไข่มาคัดแยกไข่ที่ยังล้างไม่สะอาดออก เช่น ยังเหลือมูลติดอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการผ่านเครื่องทดสอบหารอยร้าว และผ่านหลอดยูวี ที่สามารถฆ่าเชื้อซาโมเนลลาได้อีกด้วย
สำหรับไข่ที่มาจากไก่ที่เลี้ยงแบบพื้นบ้านนั้น ก็เป็นไปได้ที่จะมีมูลไก่และเศษสิ่งสกปรกติดปนมาได้ ซึ่งถ้าสกปรกไม่ค่อยมาก ก็อาจจะทำความสะอาดโดยการเช็ดด้วยผ้าสะอาด ไม่ขัดถูกแรงๆ จนทำให้เปลือกไข่เสียหาย แล้วเก็บไว้ในที่เย็น จะสามารถเก็บไว้ได้หลายสัปดาห์
แต่ถ้าสกปรกมาก ก็ใช้น้ำเปล่าอุณหภูมิ 32-48 องศาเซลเซียส (น้ำอุ่นจะทำให้เปลือกไข่ขยายตัวและลดโอกาสที่เชื้อจะผ่านรูพรุนเข้ามาได้มากกว่าน้ำเย็นที่จะทำให้เชื้อเข้าสู่ไข่ได้ง่ายขึ้น) ล้างสิ่งสกปรกออกได้ โดยให้ล้างไข่ทีละฟองและทำให้แห้งโดยเร็ว ถ้าจะใช้สบู่ด้วย ก็ให้ใช้แบบที่ผสมกลิ่นหอม
และถ้าล้างทำความสะอาดไข่ ก็ต้องให้มั่นใจว่าได้ทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณนั้นให้ปลอดเชื้อด้วย เวลาหยิบจับไข่ดิบแล้ว ก็ต้องไปล้างมือทำความสะอาดให้ปลอดเชื้อเช่นกัน
ที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงการกินไข่ดิบๆ หรือกึ่งดิบกึ่งสุก เพราะเชื้อแซลโมเนลลาอาจจะไม่ได้อยู่แค่ที่เปลือกไข่ แต่ได้เข้าไปอยู่ในฟองไข่แล้ว จึงควรนำไปทำให้สุก ที่อุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส จนไข่มีเนื้อแข็ง สุกแล้ว