รัฐมนตรี จ.ภูเก็ต ประกาศงดกิจกรรม ลอยกระทง เพื่อรณรงค์ลดขยะทางทะเล สาเหตุหลักทำน้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำตาย หันมาอนุรักสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยที่มีผู้คนอาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ สันนิษฐานว่าการลอยกระทงจะเป็นคติของชนชาติที่ประกอบการกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำในการเพาะปลูก เมื่อถึงเวลานั้นํ้าหลาก จึงทำกระทงลอยเพื่อขอบคุณแม่คงคาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประทานนํ้า ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ตามด้วยการละเล่นรื่นเริงที่แสดงถึงการแล้วเสร็จของภารกิจที่ได้กระทำมาแล้ว จนเห็นผล ประเพณีลอยกระทงจึงเป็นประเพณีของคนในสังคมลุ่มนํ้า ซึ่งประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยปรากฏทั้งในอินเดีย พม่า ลาว เขมรและไทย ซึ่งปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในประเทศไทยมีการจัดประเพณีลอยกระทงแตกต่างไปตามพื้นที่ภาคต่าง ๆ
แต่ปัจจุบันนี้กลับกลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนักโดยจะเห็นภาพขยะกระทงที่ลอยเสร็จจากวันงานลอยเกลื่อนแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้น้ำเน่าเสีย และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำตายทุกปี อีกทั้งในกระทงยังมีทั้งธูป ตะปู เศษเล็บ เศษผมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถย้อยได้อีกด้วย
ล่าสุดทางด้านของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “ลอยกระทงในทะเล ไม่ใช่ การขอขมา แต่เป็นการฆ่าท้องทะเล และแม่น้ำ-ลำคลอง เรากำลังทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ ถึงเวลาเปลี่ยน!! “ร่วมรักษ์โลก…ช่วยรณรงค์” ไปด้วยกันครั “ลอยกระทงปีนี้” งดกิจกรรมสร้างขยะ…แล้วมาทำกิจกรรมที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เช่น 1.ปล่อยปลา ให้อาหารปลา เข้าวัดทำบุญ 2.เก็บขยะ ตามแม่น้ำ-ลำคลอง และชายหาด 3.ลอยกระทงออนไลน์ แบบ “ดิจิทัล” และ 4.ปลูกป่า เดินป่า เที่ยวทะเล เที่ยวสวนสัตว์ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์”

- ไอเดียดี! นศ. มหาลัยอุบลฯ จัดกิจกรรม กระทงข้าวหมาจร แทนลอยแม่น้ำ
- เจ้าของมุงด่วน! แชร์วิธีป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้ตกใจเสียงพลุ วันลอยกระทง
และยังเร่งวางแผนแก้ “วิกฤตพะยูน” จากสถานการณ์แหล่งหญ้าทะเล (อาหารพะยูน) เสื่อมโทรม ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของแหล่งหญ้าทะเล ที่เป็นอาหารของพะยูนอยู่ในสถานะที่เสื่อมโทรมมาก จากสถานการณ์ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบให้พะยูนขาดแคลนอาหาร พบพะยูนที่มีลักษณะผอมมากกว่าปกติ และมีการอพยพเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ โดยพบเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณอันดามันตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงามากขึ้น และยังได้กำหนดแผนงานในระยะเร่งด่วนที่จะเพิ่มอาหารให้กับพะยูนในธรรมชาติ และดูแลพะยูนที่ผอมเป็นพิเศษ โดยเน้นใน 7 พื้นที่หลักที่มีความสำคัญ ได้แก่ ระนอง พังงาตะวันตก ภูเก็ต อ่าวพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

โดยจะดำเนินการในพื้นที่อ่าวพังงาและตรัง เป็น 2 พื้นที่นำร่อง เพื่อกันเขตสำหรับดูแลพะยูนเป็นกรณีพิเศษ ได้รับรายงานจากนักบิน ว่าพบพะยูน กว่า 20ตัว บริเวณป่าคลอก ปากน้ำท่าเรือบางโรง จ.ภูเก็ต เป็นไปได้ว่าฝั่งตะวันออกของภูเก็ต ตั้งแต่ป่าคลอกเรื่อยไปจนถึงสารสิน จะมีพะยูนที่อพยพมาจากตรัง/กระบี่ ทยอยเข้ามารวมกัน พร้อมกับฝากพี่น้องชาวเรือแถวนั้น ช่วยกันระมัดระวังตอนแล่นเรือ ชะลอความเร็วบ้างหากเข้าใกล้ฝั่ง และฝากพี่น้องชาวประมงช่วยกันดูแลเครื่องมือประมง อวนที่ไม่มีคนเฝ้าจะอันตรายต่อน้องพะยูน


หลังจากโพสต์ดังกล่าวได้เผยแพร่ออกไปนั้นก็สร้างความประทับใจในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกับงดจัดกิจกรรมลอยกระทงในครั้งนี้กันอย่างล้นหลามอาทิเช่น “เห็นด้วยเลยค่ะ ถ้าจะจัดงาน น่าจะใช้แบบสระน้ำจำลองใหญ่ๆ ใส่น้ำแล้วให้เขาลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคาและได้ดูความสวยงามนานๆ การขอขมาพระแม่คงคา น้ำอยู่ในขันก็ขอขมาได้จริงมั๊ยคะ”, “Thank you ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม for raising awareness about this issue and for urging the local and expat community to make merit to the ocean spirits on Loy Kratong by preserving the marine ecosystem rather than harming it . We all need to work together to reduce our garbage and manage existing waste responsibly for the health and future of our oceans.”, “ชื่นชมแนวคิดของท่านมากๆค่ะ” และ “ปลูกต้นลำแพนริมคลอง” เป็นต้น