โกอินเตอร์! สับปะรดห้วยมุ่น ผลไม้ไทยชนิดแรก ที่ประเทศญี่ปุ่น ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ยัน เนื้อฉ่ำหวานอร่อยถูกใจสุด ๆ
ประเทศไทยนั้นขึ้นชื่อเรื่องผลไม้ที่มีให้กินหลากหลายชนิดตามฤดูกาล มีผลไม้หลายอย่างที่ครองใจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน ที่นักท่องเที่ยวชาวจีนต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอยฤดูของมันกันเป็นอย่างมาก รวมไปถึง มะม่วง โดยเฉพาะเมื่อนำมาทำเป็นเมนูของหวานอย่าง ข้าวเหนียวมะม่วงแล้วนั้น เรียกได้ว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชิมแล้วต่างพากันยกนิ้วให้ว่านี่แหละของดีของประเทศไทยที่มาแล้วต้องกินจริง ๆ นอกจากนั้นยังมี มังคุด มะพร้าว ที่ไม่ว่าจะกินเนื้อ หรือน้ำ ก็อร่อยจนต้องขอเพิ่ม
ล่าสุด นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ นายโยอิจิ วาตานาเบะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น พร้อมรับมอบประกาศขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) “สับปะรดห้วยมุ่น” ผลไม้ไทยรายการแรกที่ได้รับ GI ในญี่ปุ่น และได้เยี่ยมชมตลาดค้าส่งสินค้า ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “เป็นที่น่ายินดีที่ญี่ปุ่นประกาศรับขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุนเป็นตัวที่ 3 ต่อจากกาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ภายใต้ความร่วมมือแลกเปลี่ยน การขึ้นทะเบียน GI 3 + 3 ซึ่งเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของสินค้าดังกล่าวได้เป็นอย่างดีด้วย สับปะรดห้วยมุ่น เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่มีชื่อเสียง มีจุดเด่นในเรื่องของเนื้อสีน้ำผึ้งหนานุ่ม รสชาติหวานหอม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้สับปะรดห้วยมุ่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่น และเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยไทยมีผู้ประกอบการกว่า 850 ราย มีกำลังการผลิตกว่า 180,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1,200 ล้านบาท จึงได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งเดินหน้าสานต่อความร่วมมือในระยะที่ 2 เพื่อขยายตลาด GI ไทย ในญี่ปุ่นพร้อมทั้งได้หารือกับทางญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันต่อไป”

- ได้เหรอ!? นักการเมืองชายญี่ปุ่น เสนอไม่ให้ผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไป แต่งงาน
- เริ่มแล้ว! โอซาก้า ญี่ปุ่น ออกประกาศ ห้ามสูบบุหรี่ริมถนน เริ่ม 27 ม.ค. 68
- ญี่ปุ่นจมน้ำ! ‘พายุไต้ฝุ่นกองเร็ย’ ซัดเรียบ น้ำท่วมฉับพลันถล่มมิชิมะ
ซึ่งผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานสับปะรดสดที่มีรสชาติหวานฉ่ำ มีปริมาณการบริโภคของคนในประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 180,000 ตัน รวมถึงสินค้าสับปะรดแปรรูป เช่น น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และสับปะรดอบแห้ง แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นไม่เหมาะกับการปลูกสับปะรด จึงมีการนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญที่ส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ คอสตาริกา และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ มีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) ที่ใช้เจรจาสิทธิประโยชน์ทางการค้าเพิ่มเติมให้กับสินค้าเกษตรรวมถึงสับปะรดจากไทย ในการลดภาษีนำเข้า เพื่อเพิ่มความได้เปรียบให้กับการส่งออกสับปะรดของประเทศได้
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indication) คืออะไร
เป็นสิ่งที่สามารถระบุได้ว่าลักษณะพิเศษที่เป็นรากฐานของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถเจาะจงแหล่งทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย ซึ่งเจาะจงจากชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร ป่าไม้และประมง, ผลิตภัณฑ์อาหารและอื่นๆ ซึ่งคุณลักษณะพิเศษดังกล่าวนั้นมีความเชื่อมโยงกับแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์นั้นๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากการจดทะเบียนขึ้นเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น สามารถติดเครื่องหมายจดทะเบียน (เครื่องหมาย GI) ร่วมกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้
ระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คืออะไร
ในเขตพื้นที่นั้นมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงอยู่มากมาย ซึ่งก็เนื่องมาจากความมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ทำการผลิตที่เอื้ออำนวยเช่นกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานและสภาพภูมิอากาศ, ภูมิประเทศ, ลักษณะดินและอื่นๆ ในบรรดาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ ทั้งคุณภาพ, การยอมรับจากสังคม และคุณลักษณะเด่นอื่น ๆ ที่มีรากฐานที่มั่นคงซึ่งหล่อหลอมเข้ากับพื้นที่ทำการผลิตนั้น “ระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ก็ได้เข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นระบบที่ปกป้องคุ้มครองชื่ออันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
ระบบดังกล่าวนี้ ได้เริ่มดำเนินการปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการคุ้มครองชื่อของสิ่งอันเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ป่าไม้และประมงที่ได้รับการกำหนดเป็นพิเศษ (พระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2014 และได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา กรุณาดูในรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง
ข้อมูลจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี และ jgic