กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนวันที่ 9-11 พ.ย. 67 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร ลงไป เตรียมรับมือฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลา ขอให้ปชช. เฝ้าระวัง
ในช่วงเดือนพฤศจิกายา ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เนื่องด้วยปัจจุบันนี้โลกของเราต้องเผชิญกับสภาวะโลกร้อน ทำให้สภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวนอย่างหนัก จึงส่งผลให้เกิดพายุหลายลูก ในหลายประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้กับผลกระทบเช่นกัน ในภาคเหนือ และภาคใต้ ของไทยประสบปัญหาฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหายหนัก และคร่าชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไปไม่น้อยนั้น
ล่าสุดวันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการรายงานสถานการณ์พายุ หยินซิ่ง (YINXING) โดยระบุว่า วันนี้ (9 พ.ย. 67) คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ทำให้ยังมีเมฆมาก มีฝนเล็กน้อย ท้องฟ้าเริ่มเปิด ส่วนมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง ยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนต่อเนื่อง ทำให้ลมหนาว (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) พัดต่อเนื่อง ส่วนลมในระดับกลาง ยังมีลมฝ่ายตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้ามาแทรกบางช่วง อากาศเย็นในเช้าอากาศเย็น ส่วนกลางวันอาจจะร้อนบ้าง เนื่องจากเมฆมีน้อย สำหรับยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาว ให้ได้สัมผัสกันยาวๆ ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 11 พ.ย. 67 หลังจากนั้น 12-17 พ.ย. 67 มวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมจะอ่อนกำลังลง ลมเบาลง และอุณหภูมิจะเริ่มขึ้น ส่วน กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล อุณหภูมิสูงขึ้นและมีฝนเล็กน้อย ระวังรักษาสุขภาพช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง

- หนาวเวอร์! “อุทยานแห่งชาติภูกระดึง” อุณหภูมิลดฮวบเหลือ 13 องศาฯ
- ท่วมซ้ำ! แม่สาย จ.เชียงราย ฝนตกต่อเนื่อง น้ำท่วมขังตลาดสายลมจอย
- รับมืออีกครั้ง! แม่ฮ่องสอน ฝนตกหนัก น้ำป่าท่วมนาชาวบ้าน ช่วงเก็บเกี่ยว
ช่วง 9-13 พ.ย.67 ยังต้องติดตามพายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง (YINXING)” ทะเลจีนใต้ตอนบน พายุนี้ยังมีกำลังแรงเนื่องจากยังอยู่ในทะเล แต่ทิศทางยังมีเปลี่ยนแปลง แต่คาดว่าจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ เนื่องจากเคลื่อนตัวมาในขณะที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม จึงยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในขณะนี้

สำหรับภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน (ลมตะวันออกเฉียงเหนือ) ตั้งแต่วันนี้ 9 พ.ย. 67 ถึง 11 พ.ย.67 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงไป ยังต้องระวังและเตรียมรับมือฝนตกหนัก ฝนตกสะสม คลื่นลมแรงขึ้น อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นภาคใต้ฝนจะเริ่มลดลง แต่ยังมีฝนบางแห่ง
