ส่องเลย เปิดวีรกรรม สตง. ตรวจหน่วยงานอื่น หน่วยงานต้นแบบ ขยันทำงาน บุกตรวจหน่วยงานอื่นละเอียดยิบ ตรวจยันความยาวพริกขี้หนู
จากกรณี ข่าวประเด็นร้อน เหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งแผ่นดินไหวในครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้กับตึกอาคารหลายแห่ง โดยเฉพาะ ตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่กำลังก่อสร้าง ตั้งอยู่บนเขตจตุจักร ที่เกิดเหตุถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิตนับสิบราย และยังสูญหายอีกหลายคน ซึ่ง ตึกดังกล่าวหลายหน่วยงานคาดการณ์ว่าในวัสดุที่ไม่ตรงมาตรฐานจึงเป็นเหตุให้ถล่มลงมา อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อความเป็นธรรมเสียก่อน งานนี้เรามาดู เปิดวีรกรรม สตง. ตรวจหน่วยงานอื่น ที่ชาวเน็ตหลายรายนำมาเผยแพร่กันว่าเป็นอย่างไรบ้าง

เปิดวีรกรรม สตง. ตรวจหน่วยงานอื่น เรื่องเล่าจากชาวเน็ต
โดนในวันนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเล่าเรื่องราวการทำงานของ สตง. ว่า “ประสบการณ์ของผมกับเจ้าหน้าที่ สตง.”
1. หลายปีก่อนหน่วยงานของผมได้รับการเข้าตรวจจาก สตง. แผนกผมก็มีเจ้าหน้าที่ สตง. เข้ามาตรวจหนึ่งท่านเป็นสุภาพสตรีอายุไม่เยอะ ลงมาท่านเดียว
2. เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแจ้งว่าต้องการขอดูรายงานการผ่าพิสูจน์ศพทั้งหมด (autopsy report) เราทุกคนตกใจมากและแจ้งว่าให้ดูไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลลับของผู้เสียชีวิตแต่ละราย และไม่เคยมีมีใครมาขอดูมาก่อนตั้งแต่ทำงานมา
3. เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอำนาจเข้าตรวจสอบแน่นอน แล้วกล่าวต่อหน้าเพื่อนอาจารย์แพทย์และข้าราชการอีกหลายคนในห้องว่า “อิจฉาอยู่ค่ะ เพราะหมอได้เงินเยอะ เบิกเงินเยอะ เลยต้องมาตรวจ”
4. ระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่ตั้งข้อสังเกตว่ารายงานแต่ละฉบับมีความยาวสั้นไม่เท่ากัน บางฉบับ 5 หน้ากระดาษ A4 บางฉบับ 2 หน้า บางฉบับ 1 หน้า ฉบับที่สั้น ๆ น่าจะไม่มีคุณภาพ ระวังจะถูกเรียกเงินคืน ทั้งทั้งที่แต่ละเคสรายละเอียดไม่เหมือนกัน
5. ตรวจไปตรวจมา ตอนสุดท้ายจะกลับ เจ้าหน้าที่ก็พูดประโยคที่ทุกคนตกใจไม่คาดว่าจะได้ยิน เพราะเราผ่าศพรวมกันมาแล้วเป็นหมื่นร่าง ไม่เคยได้ยินประโยคอะไรแบบนี้ คุณเจ้าหน้าที่บอกว่า ”แล้วจะรู้ได้ไงคะ ว่าคนพวกนี้ตายจริง ?“ ทำให้พวกเราจำได้ไม่ลืมจนถึงทุกวันนี้
6. สิ่งที่ผมทำได้ในขณะนั้นคือแจ้งผู้บังคับบัญชา และเล่าให้อาจารย์แพทย์หลายคนฟัง คำตอบที่ได้คือ มันเป็นวิธีการตรวจของเค้าตามปกติที่จะยั่วให้เราโกรธและโมโหแล้วจะสังเกตพฤติกรรมของเรา ให้เราวางเฉย ปล่อยผ่าน ผมไม่พอใจในคำตอบ
7. คืนนั้นผมเข้าเว็ปไซด์ของ สตง. เพราะคิดว่าจะมีช่องทางให้ร้องเรียนออนไลน์กับท่านผู้ว่า สตง.ได้ไหม? ปรากฎว่ากลับเจอธรรมนูญการตรวจเงินแผ่นดินที่บัญญัติว่า ผู้ตรวจต้องปฏิบัติกับผู้รับตรวจด้วยความเสมอภาค กริยามารยาทสุภาพ…. ฯ
8. วันรุ่งขึ้นผมจึงไปพบหัวหน้าชุดของ สตง. ที่เข้าตรวจ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และท่านหัวหน้าได้กล่าวขอโทษและจะไปกำชับคุณเจ้าหน้าที่ไม่ให้แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นอีก
P.S. ข้าราชการไม่ได้กลัวการตรวจสอบ ขอแค่เวลาตรวจท่านทำตามธรรมนูญที่ท่านบัญญัติไว้ก็เพียงพอแล้ว
ข่าวที่น่าสนใจ
- แม่ลูกอ่อนโดนพรากลูก โดย สามี-แม่สามี กีดกันไม่ให้เจอหน้า แม้เพิ่งคลอด
- กันจอมพลัง แจกเงินผู้รอดชีวิตตึกถล่ม 50,000 ชี้ ทุกวินาทีคือปาฏิหาริย์
- สรุปให้ สถิติหวยออกวันพุธ ต้อนรับ หวยสงกรานต์ แนวทางล่าสุด 16/4/68
ต่อมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกรายหนึ่งเล่าว่า รถบัสบรรทุกผู้ต้องขังคันนี้ เป็น 1 ใน 3 คัน ที่ผมจัดซื้อสมัยเป็นผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ปี 2562 งบประมาณคันละ 6 ล้านบาท รวม 3 คัน 18 ล้าน ใช้วิธี E bidding เมื่อรับมอบรถ จ่ายเงินเสร็จได้ 3 วัน สตง.ขอเข้าตรวจ!! การตรวจ ก็จะดูกระบวนการจัดซื้อ ดูสภาพรถว่าตรงคุณลักษณะตามข้อกำหนดใน TOR หรือไม่ รถชุดนี้ ขั้นตอนการซื้อถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ แต่มีเพิ่มเติมคือเรา “ขอ” เขาเยอะมากคือขอให้กั้นห้องแยกในรถเพิ่ม แก้เรื่องที่นั่งโดยสาร และแก้เรื่องระบบประตู ให้ดีกว่าคุณลักษณะเดิม สุดท้ายก่อนส่งมอบรถก็ขอวิทยุสื่อสารแบบ Base station ติดประจำรถทุกคัน ผู้ขายไม่งอแงเลย ขออะไรก็ให้หมด เพราะเราไม่ได้ขอ “เงินทอน” ผมไม่แน่ใจว่า สตง. ดีใจหรือเสียใจกลับไป
ปล. มาเจ็บใจตอนที่เขาไปตรวจอาหารดิบที่เรือนจำแห่งหนึ่ง แล้วไปขอวัดขนาดความยาวพริกขี้หนู ว่าเป็นไปตามคุณลักษณะหรือไม่ เป็นใครก็เหงื่อตกครับ
