มีไว้ทำไม! ชาวเน็ตจวก ‘ประกันสังคม’ หลังคนไข้ป่วยหนักเข้าใช้สิทธิรอรักษานาน สุดท้ายอาการทรุด หัวใจล้มเหลวเสียชีวิตที่ รพ.
จากกรณีประกันสังคมที่กำลังกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังนางสาวรักชนก ศรีนอก สส.กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่าน Facebook รักชนก ศรีนอก – Rukchanok Srinork โดยระบุว่า ประกันสังคมจะเอาแบบนี้จริงๆใช่ไหม? เมื่อวานนี้ทั้งบอร์ดใหญ่ (มีตัวแทนจาก 3ฝ่ายมาครบ) และสำนักงานประกันสังคม ได้เข้ามาชี้แจงใน กมธ.ติดตามงบประมาณ
ล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม 2568 ผู้ใช้ Faccebook ท่านหนึ่งได้มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่า “สืบเนื่องจากโพสต์ของผมก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับสิทธิ์รักษาของประกันสังคม พี่ชายตนแน่นหน้าอก เจ็บตรงลิ้นปี่ หายใจไม่ออก เมื่อคืนวันที่ 27 ได้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมในการรักษาตอน 20.00 น.
ทางโรงพยาบาลได้ให้ยาและทำการตรวจเลือดนอนรอที่ห้องฉุกเฉินจนถึงประมาณ 23.00 น. มาบอกว่า ไม่เป็นอะไร ปกติกลับบ้านได้ ทั้งที่ยังแน่นหน้าอกอยู่ไม่ยอมให้นอนต่อ พอช่วงเช้าวันที่ 28 เวลา 05.00 น. ได้กลับมาโรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากปวดและแน่นหน้าอกมาก ทางโรงพยาบาลจึงให้แอดมิดแต่ให้นอนรอหมอเฉยๆไม่ได้ทำการรักษา
จนถึงประมาณ 08.00 น. พี่ชายตนทนไม่ไหว พี่สาวที่พามาจึงไปบอกพยาบาลถึงได้ให้ไป x-ray พี่ตนก็เปลี่ยนชุดโรงพยาบาลเดินตามพยาบาลไปห้อง x-ray แต่พยาบาลได้ขึ้นมาตามพี่สาวลงไปห้อง x-ray และได้บอกว่าตอนนี้ พี่ชายตนหัวใจล้มเหลวและกำลังทำการช่วยชีวิตอยู่ แล้วพี่ชายตนก็จากไปทั้งอย่างนั้น
“ทำไมคนป่วยที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคมถึงได้การรักษาแบบนี้พี่สาวบอกกับพยาบาลว่า ขอยกเลิกใช้สิทธิ์ประกันสังคมและขอจ่ายค่ารักษาเองเพื่อที่จะได้รับการรักษาที่รวดเร็วแต่มันไม่ทันแล้ว ประกันสังคมสำหรับใครที่เจ็บป่วยหนักๆ แต่ทางโรงพยาบาลวินิจฉัยจากภายนอก เห็นว่าพูดได้ คุยได้ พึงระวังไว้เลยเพราะเขาจะไม่รักษาคุณทันทีหรอกจนกว่าคุณจะใกล้ตายเขาถึงมารักษาคุณ”
ทางด้านคุณฉัตรพัฒน์ น้องชายของผู้เสียชีวิต เผยว่า ตนอยากบอกว่า เข้าใจว่าสิทธิของประกันสังคมนั้นมีจำกัดในแต่ละโรงพยาบาล แต่สำหรับคนเจ็บป่วยมีอาการไม่สู้ดอยากให้ทางโรงพยาบาลหรือทางสิทธิประกันสังคมปรับปรุงใหม่ ให้ดูแลและไม่ควรรอให้มีอาการหนักก่อนจริงๆ ถึงจะดำเนินการ
ทั้งนี้ ตนมองว่าความเร็วในการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ หากใครที่ไม่สามารถจ่ายเงินได้เองหรือใช้ประกันของเอกชน จะไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งหากเราใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท กระบวนการรักษาค่อนข้างต่างกัน
