สภาเภสัชกรรม เคลื่อนไหวล่าสุด หลังพบว่าพี่สาว แอม ไซยาไนด์ เป็นเภสัชกร ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสอบสวน พร้อมลงโทษหากผิดจริง
สืบเนื่องจาก เมื่อวานนี้ 26 เม.ย. 66 ได้มีการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รอดชีวิต คดี แอม ไซยาไนด์ ออกมาเปิดเผยว่า พี่สาวของผู้ต้องหา นั้นเป็นเภสัชกร เนื่องจากว่าในตอนนั้น ตนเองติดเชื้อโควิด 19 และ แอม ได้เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยอ้างว่า พี่สาวตนเองมีธุรกิจร้านยาและเป็นเภสัชกร และได้นำยาชนิดแคปซูลมาให้ตนกิน โดยอ้างว่าเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการโควิด หลังจากตนได้กินยาดังกล่าวไม่ถึง 20 นาที ก็เริ่มมีอการผิดปกติทางร่างกาย
ซึ่งข้อมูลชุดนี้ที่ได้จากผู้รอดชีวิต ต้องบอกว่าเป็นหลักฐานสำคัญ ที่สามารถช่วยไขคดีสุดผัวพัน กับศพที่เสียชีวิตปริศนากว่า 10 รายได้เป็นอย่างดี เพราะหากใครได้ติดตามข่าวสารอยู่ตลอด คงมีคำถามว่า ไซยาไนด์ นั้นสามารถหาซื้อได้ง่ายขนาดนั้นเลยหรือ และการได้คำตอบว่า พี่สาวผู้ต้องหาเป็น เภสัชกร จึงเป็นข้อเท็จจริงว่า แอม อาจได้ความรู้ความสามารถในการหายาแต่ละชนิดจากพี่สาวก็เป็นได้
สภาเภสัชกรรม ชี้แจง กรณีพี่สาว แอม ไซยาไนด์
ล่าสุด 27 เม.ย. 66 ด้าน สภาเภสัชกรรม : The Pharmacy Council ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหว เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างรวดเร็ว โดยทางสภายังคงสืบหาความจริง ว่าเภสัชกรรายใด ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีและทำผิดจรรยาบรรณ ทางสภานั้น พร้อมที่จะลงโทษตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ อย่างเคร่งครัด โดยระบุข้อความ ดังนี้
สภาเภสัชกรรมขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับผู้เสียชีวิตและครอบครัว และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเร่งหาตัวผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้ร่วมกระทำผิดและสนับสนุนการกระทำผิดทุกราย เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
สภาเภสัชกรรมขอเรียนว่า “โปตัสเซียมไซยาไนด์” รวมทั้ง “โซเดียมไซยาไนด์” ไม่ใช่ยา ! “โปตัสเซียมไซยาไนด์” รวมทั้ง “โซเดียมไซยาไนด์” เป็นสารเคมีที่เป็นวัตถุอันตราย
ซึ่ง “โปตัสเซียมไซยาไนด์” รวมทั้ง “โซเดียมไซยาไนด์” รับผิดชอบดูแลและ ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และปกติจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม ไม่ได้นำมาใช้ทางยา
อนึ่ง ตามที่มีประเด็นข่าวส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เข้าใจว่ามี เภสัชกร เข้าไปพัวพันกับคดีนั้น สภาเภสัชกรรม ขอเรียนว่า เภสัชกร เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องยาและสารเคมีเพื่อใช้ในการรักษา และป้องกันโรคเท่านั้น และต้องปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ ที่กำกับดูแลโดยสภาเภสัชกรรมอย่างเคร่งครัด
หากการสืบสวน สอบสวน ขยายผลแล้ว พบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมรายใดมีส่วนเกี่ยวพันในการกระทำผิดจริง สภาเภสัชกรรมพร้อมจะพิจารณาโทษทางจรรยาบรรณ ภายใต้อำนาจหน้าที่ของสภาเภสัชกรรม ตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ อย่างเคร่งครัด

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY