สิ้นสุดยุคบังคับทรงผม! ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนกฎ ‘ทรงผมนักเรียน’ ชี้จำกัดเสรีภาพ ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองเด็ก
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาเพิกถอนกฎกระทรวงฯ ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ การไว้ทรงผมของนักเรียนที่ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ฟร. ๒๔/๒๕๖๓ เพิกถอน กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกดามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515 ซึ่งกำหนดว่า การแต่งกาย และความประพฤติดังต่อไปนี้ ถือว่าไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน
นักเรียนชายดัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตื่นผมหรือไว้หนวดไว้เครา นักเรียนหญิงดัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ผมยาวเกินกว่านั้นก็ไม่รวบให้เรียบร้อย นักเรียนใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งปลอมเพื่อการเสริมสวย นั้น มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อห้ามเกี่ยวกับทรงผมและการใช้
เครื่องสำอางของนักเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา
กรณีถือได้ว่าเป็นกฎที่มีผลเป็นการจำกัดเสร็ภาพในร่างกายของบุคคลผู้มีสถานะเป็นนักเรียน โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นฐานอำนาจในการออกกฎกระทรวงดังกล่าว ระบุเหตุผลว่า เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาเป็นเยาวชนที่กำลังสร้างสมคุณสมบัติทั้งในด้านความรู้ ความคิดและคุณธรรม พร้อมที่จะรับมรดกตกทอดจากผู้ใหญ่เป็นพลเมืองดีมีประโยชน์แก่ประเทศชาติในอนาคด นักเรียนและนักศึกษาควรจะได้รับการอบรมดูแลใกล้ชิดจากบิดามารดา ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ เพื่อเป็นบตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครู อยู่ในโอวาทคำสั่งสอน รวมทั้ง อยู่ในระเบียบประเพณีและกฎหมายของบ้านเมือง
ต่อมา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ปรากฏหลักการและเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 กำหนดสาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสติภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน โดยมาตรา 22 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า
การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีได ให้คำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ มาดรา 26 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก และกฎกระทรวงกำหนดแนวทางการพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุของเด็กหรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็ก พ.ศ. 2549 กำหนดว่า การกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก ให้พิจารณาถึง
- ลักษณะเฉพาะด้วของเด็กแต่ละคน
- ความเหมาะสม ความต้องการ และความจำเป็นของเด็ก
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เจดนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ
