เยาวชน 14 ปี ผู้ก่อเหตุคดีพารากอน จนมีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย อ้าง “ทำไปโดยไม่รู้ตัว” ยอมรับเรื่องอาวุธ แต่ปฏิเสธข้อหายิงคนตาย
วันที่ 26 พฟศจิกายน 2566 มีรายงานความคืบหน้า กรณี ผู้ก่อเหตุคดีพารากอน ที่เป็นเยาวชน อายุ 14 ปี ว่า พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้เข้าสอบปากคำเยาวชน อายุ 14 ปี หลังจากเข้ารักษาตัวและประเมินอาการป่วยจากแพทย์ผู้รักษา กระทั่งสามารถที่จะให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนได้ โดยเยาวชนคนนี้ ให้การภาคเสธ ยอมรับในเรื่องของอาวุธปืน และให้การเกี่ยวกับอาวุธปืน แต่ไม่รับในข้อหาฆ่าผู้อื่นฯ โดยอ้างว่า ทำไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้คาดว่าพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เตรียมสรุปสำนวนคดีส่งพนักงานอัยการ ภายในสัปดาห์หน้านำตัวเยาวชนไปพบอัยการ

สำหรับเยาวชน อายุ 14 ปี ผู้ก่อเหตุถูกดำเนินคดีในข้อหา ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน , พยายามฆ่า , มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต , พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และยิงปืนในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมทั้งสิ้น 5 ข้อหา
- หัวหน้า ทริปน้ำไม่อาบ วอนชาวบ้านเข้าใจ 1 ปีมีครั้ง แถมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
- เมาแล้วขับ! ไปกินเหล้างานกฐิน ซิ่งปิคอัพวูบหลับพุ่งชน จยย.ดับ 8 สาหัส 5
- วิวาห์สลด เจ้าบ่าวขาพิการ รัวยิงเจ้าสาว – ญาติ ดับคางานมงคล 5 ศพ
สำหรับคดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เยาวชน อายุ 14 ปี ก่อเหตุกราดยิงในห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ (3 ต.ค. 66) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย คือ นางจ้าว จินหนาน นักท่องเที่ยวสาวชาวจีน วัย 34 ปี , นางโม มหยิ่น อายุ 31 ปี ชาวพม่า ลูกจ้างร้านค้าในห้างที่เกิดเหตุ และ น.ส.เพ็ญพิวรรณ หรือ หนุงหนิง มิตรธรรมพิทักษ์ อายุ 30 ปี นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 4 ราย หลังเจ้าหน้าที่จับกุมได้ส่งตัวไปที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางตามขั้นตอน พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ยื่นคำร้องตรวจสอบการจับกุม หลังถูกจับภายใน 24 ชั่วโมง ศาลไต่สวนพบว่าตำรวจปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องขณะจับกุมผู้ต้องหากระทำผิดจริง

ทั้งนี้ การขอให้ศาลส่งตัวผู้ต้องหาไปให้แพทย์จิตเวช สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เพื่อรักษาจนกว่าผู้ต้องหาจะสามารถต่อสู้คดีได้นั้น พนักงานสอบสวนไม่ได้นำแพทย์ผู้ทำความเห็นมาให้ศาลได้สอบถามหรือไต่สวนให้ฟังได้ว่าผู้ต้องหาป่วยทางจิตจริง ยังไม่ยุติว่าผู้ต้องหามีอาการป่วยทางจิตเวช เห็นควรส่งตัวไปควบคุมไว้ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร และให้สถานพินิจฯ ตรวจสอบสภาพจิตใจของผู้ต้องหา โดยส่งตัวผู้ต้องหาเข้ารับการประเมินสุขภาพจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ แทนการคุมตัวไว้ที่สถานพินิจฯ การประเมินจะร่วมกับเจ้าหน้าที่หลายส่วน อาทิ นักสหวิชาชีพ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาชีพอื่นๆ เป็นต้น ไม่เพียงเฉพาะจิตแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ครบถ้วนมากที่สุดโดยการประเมินของหน่วยงานแต่ละฝ่ายเสร็จสิ้นแล้ว รอผลสรุปร่วมว่าเด็กมีอาการทางจิตหรือไม่เตรียมส่งเด็กกลับมาสถานพินิจฯ