ผลการ เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ที่จะมีผลทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยก่อนที่การเลือกตั้งครั้งสำคัญจะเปิดฉากขึ้น ไบร์ท ทีวี ได้รวบรวม 7 ข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐไว้ดังนี้
1.การเมืองสหรัฐฯมีสองพรรคการเมืองหลัก คือพรรครีพลับลิกัน ซึ่งเป็นพรรคการเมือง ที่แนวคิดเชิงอนุรักษ์นิยม และผู้สมัครชิงตำแหน่งของพรรครีพลับลิกันก็คือประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่หวังที่จะคว้าชัยชนะอีกสมัย โดยคู่ชิงรองประธานาธิบดึของเขาคือรองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์
ในหลายหลายปีที่ผ่านมา พรรครีพลับลิกันชูนโยบายลดภาษี สิทธิ์ในการครอบครองอาวุธปืน และคุมเข้มเรื่องนโยบายผู้อพยพ ได้คะแนนสนับสนุนจากฐานเสียงที่เหนียวจากประชาชนในพื้นที่ชนบทของสหรัฐ โดยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช, โรนัลด์ เรแกน และริชาร์ด นิกสันก็ต่างเป็นสมาชิกจากพรรคการเมือง
ส่วนอีกพรรคคือพรรคเดโมแครต เป็นพรรคที่มีแนวคิดเชิงเสรีนิยม ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งนี้คืออดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน นักการเมืองผู้มากประสบการณ์ ที่ทำหน้าที่เคียงข้างประธานาธิบดีบารัค โอบามาถึง 8 ปี ส่วนคู่ชิงรองประธานาธิบดีของเขาคือนางกมลา แฮร์ริส สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย
2.ประธานาธิบดีทรัมป์ และไบเดนต่างมีอายุในช่วง 70 ปี หากประธานาธิบดีทรัมป์ชนะเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 เขาจะมีอายุครบ 74 ปี หากไบเดน ซึ่งขณะมีอายุ 78 ปี ชนะการเลือกตั้ง เขาก็จะกลายเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ

3.การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐใช้ระบบคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งมีทั้งหมด 538 เสียงโดยผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องได้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่ง คือมากกว่า 270 เสียงขึ้นไป ซึ่งในแต่ละรัฐจะมีจำนวนคณะผู้แทนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร รัฐที่มีประชากรมากก็จะมีคณะผู้แทนมาก ผู้สมัครที่มีชนะในรัฐใดก็จะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งของรัฐนั้นไปทั้งหมด
ส่วนคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน (Popular Vote) นั้นจะไม่มีความสำคัญเท่ากับคะแนนของคณะผู้แทน ซึ่งแม้ว่าผู้สมัครจะมีคะแนนเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าก็ไม่ได้แปลว่าจะชนะการเลือกตั้งเสมอไป หากได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งน้อยกว่า ซึ่งกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาในการเลือกตั้งของสหรัฐฯมาแล้ว 27 ครั้ง โดยกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เมื่อปี 2016 ที่นางฮิลลารี คลินตันแพ้การเลือกตั้งให้กับประธานาธิบดีทรัมป์
4.การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งประธานาธิบดีเท่านั้น ชาวสหรัฐจะต้องลือกวุฒิสมาชิก 33 ที่นั่ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 435 ที่นั่ง โดยในเวลานี้พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนพรรครีพลับลิกันครองเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา

5.ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการอาจใช้เวลาหลายวันในการนับคะแนน แต่ในการนับคะแนนหลังปิดหีบเลือกตั้งทั่วประเทศ และในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้นก็สามารถบอกได้เลยว่าใครจะเป็นผู้ชนะ
6.ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้จะมีกำหนดเข้าสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.64 ที่อาคารรัฐสภา ในกรุงวอชิงตันดี.ซี. ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมีวาระการดำรงตำแหน่งอยู่ที่ 4 ปี
7.การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด19 ในเวลานี้ มีชาวสหรัฐฯออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าแล้วมากกว่า 98 ล้านคน ซึ่งถือเป็นยอดผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าที่มากกว่าในปี 2016 โดยรัฐแคลิฟอร์เนียมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากที่สุดกว่า 11 ล้านคน รองลงมาอันดับ 2 คือรัฐเท็กซัส ที่มีผู้อออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 9.7 ล้านคน และอันดับที่ 3 คือรัฐฟลอริดา ที่มีออกมาใช้สิทธิ์มากกว่า 8.7 ล้านคน
โจ ไบเดน นักการเมืองผู้ผ่านมรสุมชีวิต จนคิดฆ่าตัวตาย สู่ผู้ท้าชิงทรัมป์ในศึกเลือกตั้งสหรัฐ

#โจไบเดน #ทรัมป์ #เลือกตั้งสหรัฐ #ผลเลือกตั้งสหรัฐ #JoeBiden #ElectionDay #Election2020 #DonaldTrum #USElections2020